เรื่อง/ภาพ : แทนไท ออนทัวร์
เรื่องของมันสำปะหลังในช่วงนี้แม้จะเงียบๆลงไปบ้าง
เพราะผ่านฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว
หากแต่ยังคงมีประเด็นที่น่าสนใจให้ติดตามอย่างเช่นเรื่องของ โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง
ซึ่งผู้เขียนได้ยินชาวไร่พูดคุยกันเมื่อครั้งที่เดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดในโซนภาคเหนือตอนล้างเมื่อปรายเดือนที่ผ่านมา
โดยทั่วไปในเขตพื้นที่ต่างจังเกษตรกรล้วนแต่ก็ทำพืชเศรษฐกิจ
อย่าง ข้าว อ้อย ข้าวโพด และ มันสำปะหลัง ถึงแม้ว่าช่วงหลังๆมานี้จะมีปาล์มน้ำมัน
และยางพาราด้วยก็ตาม ในขณะที่ผู้เขียนนั่งรอรถสองแถวเข้าไปในหมู่บ้าน
บังเอิญได้ยินชายหญิงประมาณ 5-6 คน แต่งตัวเหมือนพร้อมออกไปไร่นา ทั้งๆที่จุดประสงค์เพื่อมาจ่ายตลาดก็ตาม ยืนจับกลุ่มคุยกันถึงการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
โดยเฉพาะเรื่อง “มันสำปะหลัง” ที่พวกเขาขายเข้าโครงการ
สำหรับลำดับขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการนั่นมีอยู่ว่า
องค์การคลังสินค้า หรือที่เรียกย่อๆว่า อคส. เปิดรับสมัครลานมัน
และโรงแป้งให้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้เป็นจุดรับฝากหัวมันสด
และจ่ายใบประทวนให้กับเกษตรกรหลังจากที่เกษตรกรนำมันสำปะหลังมาส่งยังลาน
และโรงแป้งต่างๆที่เข้าร่วม ต่อมาเกษตรกรต้องนำใบประทวนที่ได้ไปจำนำกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. แล้ว ธ.ก.ส.จะจ่ายเงินให้กับเกษตรกร “ภายใน 3 วัน”
โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง
แม้จะถูกเห็นชอบและผ่านการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการแทรกแซงตลาดมันให้นำมาใช้ในภาคประชาชนแล้วก็ตาม
นั่นหมายความว่า ผู้ที่คิริเริ่ม หรือ ผู้กำหนดเรื่องดังกล่าว
ต้องมองเห็นถึงผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับแล้ว
แต่เสียงสะท้อนจากส่วนหนึ่งของชาวไร่มันเห็นว่า ต้นทุนในการผลิตไม่ว่าจะเป็น
ค่าปุ๋ย ยา ค่าคนงาน
และอื่นๆที่เป็นต้นการผลิตล้วนแต่ต้องใช้เงินสดทั้งนั้นจับจ่ายใช้สอย
โดยเฉพาะค่าแรงงาน หากไม่จ่ายเงินสด คงไม่มีใครที่ไหนไปทำให้คนอื่นฟรีๆ
ในขณะเดียวกันที่หลังจากเก็บผลผลิตขึ้นรถเตรียมขนส่งไปจำหน่ายยังลานรับซื้อที่เข้าโครงการฯ
กับต้องติดคิวรอเป็นเวลานาน บางก็มานอนรอเพื่อจะได้นำผลผลิตขึ้นชั่งก่อนในวันถัดไป
ไม่เพียงเท่านั้นแทนที่จะได้รับเงินสดออกมา กลับต้องถือกระดาษ 1 ใบ (ใบประทวน) ออกมาแทน ซึ่งก็หมายความว่าต้องรอมารับเงินอีกครั้งในคราวต่อไป
หรือไปขึ้นเงินกับ ธกส.เอง เมื่อยื่นความจำนงไปแล้วต้องรอให้ทางหน่วยงานดำเนินการต่างๆกว่า
3 วัน ถึงจะได้เงิน แลดูขั้นตอนในการรับเงินช่างแสนวุ่นวายน่าปวดหัวนัก
อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ต้องก้มหน้าทำตามเงื่อนไขดังกล่าวไปเพราะไม่มีทางเลือกอื่น
แต่ก็มีบางรายที่อดรนทนไม่ได้ต้องขายผลผลิตให้กับลานเอกชนซึ่งราคาก็ “ถูกแสนถูก”
เพื่อให้ได้เงินสดมาเป็นทุนในการผลิตรอบต่อไป
ก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า
แล้วกันนะ เอาหละสำหรับเนื้อหาที่เกษตรกรรายใหม่ๆ หรือ ผู้ที่ทำอยู่แล้ว
แต่อยากทราบแนวการทำไร่มันสำปะหลังของเพื่อนๆท่านอื่นๆผู้เขียนจะนำเรื่องราวเหล่านั้นมาให้ได้นำไปศึกษาประยุกต์ใช้กันอีกครั้ง
ซึ่งจะขออนุญาตรวบรวมเรื่องราวที่เคยนำเสนอไปแล้วมาฝากอีกครั้ง
หมอดินอาสาปราจีนบุรี เกทไอเดีย ใช้ ขี้เห็ด
เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 5
เท่า/ไร่
เป็นเรื่องราวที่ถูกนำเสนอไปในปีที่แล้ว
ที่พูดถึงการนำ “ขี้เห็ด”
เป็นตัวกระตุ้นช่วยเพิ่มผลผลิตต่อได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าของข้อมูลนี้คือ คุณสมพร เรืองโรจน์ หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน “เกทไอเดีย” นำก้อนเชื้อเห็นที่ผ่านการเก็บดอกเรียบร้อยแล้วไปใส่ในไร่ก่อนปลูกมันสำปะหลังประมาณ 4 ตัน/ไร่ จากนั้นใช้รถไถเกลี่ยให้ทั่วทั้งแปลง และยกร่องปลูกตามกระบวนทั่วๆไป เขาปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ผลปรากฏว่าผลผลิตที่ที่เคยเก็บได้เพียง 4 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 19 ตันต่อไร่ ประกอบกับช่วยให้เปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้นด้วย
คุณสมพรมีอาชีพทำไร่มันสำปะหลัง
และเพาะเห็ดฟางจำหน่าย
จึงทำให้มีวัตถุดิบเหลือให้ที่เป็นประโยชน์มาช่วยเพิ่มผลผลิตให้พืชอีกชนิดได้อย่างง่ายดาย
จากกรณีที่หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดินท่านนี้ใช้ภูมิปัญญาในการนำวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรมาช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังกว่า
5 เท่า
ถือว่าเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่แห่งการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อย่างน่าตะลึง กรมพัฒนาที่ดินจึงได้มอบหมายให้สถานีพัฒนาที่ดินเขาทดสอบและทำการวิจัยหาสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของผลผลิตหลังนำขี้เห็ดใส่ลงไปในแปลงปลูกมันสำปะหลัง
จนทราบว่าในก้อนเห็นที่ผ่านการให้ผลผลิตแล้วจนกลายเป็นขี้เห็ดเต็มไปด้วยจุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง
ด้วยระบบน้ำหยอดผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน/ไร่
มาดูเทคนิคที่เข้ากับสภาวะอากาศแห้งแล้งในปัจจุบันนี้ “ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง
ด้วยระบบน้ำหยอด” เป็นเรื่องราวของเซียนแห่งวงการเกษตรท่านหนึ่งใน จ.กาญจนบุรี
คุณเสถียร มาเจริญรุ่งเรื่อง เจ้าของ บริษัท สามัคคีพัฒนา จำกัด
ซึ่งดำเนินธุรกิจนำเข้าปุ๋ยเคมีมากว่า 30 ปี พร้อมทั้งเป็นผู้เปิดตำราการทำเกษตรแบบแผนใหม่
นำความทันสมัยของเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
จากผลงานสร้างชื่อด้วยการทำไร่อ้อยแบบ “1 ร่อง 4 แถว” ต่อมาเป็นการ “ปลูกอ้อยข้ามแล้งด้วยระบบน้ำหยอด”
จนพัฒนาระบบเครื่องจักกลทางการเกษตรให้ใช้ในการ “ทำไร่มันสำปะหลังระบบน้ำหยอด”
ได้ด้วย
รายละเอียดของเรื่องนี้ถูกนำเสนอไปแล้วเมื่อปีก่อนเหมือนกัน
แต่ผู้เขียนเห็นว่าเทคโนโลยีที่เขาใช้ สามารถนำมาประยุกต์ในในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี
เพราะสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ความชื้น และ “น้ำ”
ที่จำเป็นต่อการทำเกษตรแห้งหายไป หาเกษตรกรลงทุนติดตั้งระบบน้ำก็ใช้ว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนเพราะว่าพื้นที่เพราะปลูกอาจจะห่างใกล้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ทำให้ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มขึ้นมาก
หรืออาจจะขุดสระแต่ก็ใช้ว่าขุดไปแล้วกับไม่มีน้ำเลยก็เป็นได้
คุณเสถียร ได้ดัดแปลงรถไถที่ครั้งหนึ่งเคยได้ในงานไร่อ้อย
มาใช้กับงานในไร่มันสำปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ต้นทุนไม่ได้มากขึ้นกว่าเดิมเลย
พื้นที่ที่เคยปลูกยูคาลิปตัสกว่า 50 ไร่ ถูกปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการทำไร่มันสำปะหลัง
เจ้าตัวบอกว่าแปลงแรกจะทำเป็นแปลงสาธิตด้วยการนำมันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง 11
มาปลูก
หลังไถปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้วใช้รถไถที่ถูกดันแปลงมาจากรถปลูกอ้อย
มาติดตั้งเครื่องหยอดปุ๋ย และ ถังน้ำไว้บนหลังคารถ ในขณะชักร่องเตรียมปลูกระบบเครื่องจะค่อยๆลำเลียงปุ๋ยและน้ำไหลผ่านท่อลำเลียงโดยตำแหน่งปากท่อจะถูกออกแบบมาให้ตรงกับสันร่องพอดี
เพื่อสร้างความชื้นและรองพื้นด้วยปุ๋ยก่อนที่จะกลบไว้ใต้ดิน เมื่อนำท่อนมันลงเสียบในแปลง
จะช่วยให้ท่อนมันสำปะหลังปลูกใหม่ที่ยังไม่มีรากหาอาหารเองได้ได้รับธาตุอาหารและความชื้นเบื้องต้นที่เตรียมไว้ข้างต้นทันที
วิธีดังกล่าวจึงช่วยให้มีการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการปลูกแบบทั่วๆไป
เจ้าของไร่สามัคคียังบอกอีกว่าผลผลิตโดยทั่วไปมันสำปะหลังสายพันธุ์ดังกล่าวจะให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ
4-6 ตัน/ไร่/ปี ในระบบการจัดการปกติคือ
การปลูกและให้น้ำตามธรรมชาติ แต่หากปลูกด้วยระบบการจัดการที่ดี
หรือการปลูกแบบใหม่ที่ใช้ระบบน้ำและปุ๋ยฝังรองพื้นอย่างที่ทางไร่ทำคาดการณ์ว่าผลผลิตเฉลี่ยไม่น่าจะต่ำกว่า
10 ตัน/ไร่/ปี
ยืนยันได้จากในฤดูกาลแรกที่ได้ทนลองทำเขาเก็บผลผลิตเฉลี่ย 8-10 ตัน/ไร่ ทั้งๆที่เป็นเพียงการทดลองครั้งแรกด้วยซ้ำ
เทคนิคปลูกมันระบบน้ำหยด และ “ปุ๋ยขี้หมู”
ผลผลิต 18 ตันต่อไร่
ไหนๆก็ว่ากันด้วยการทำไร่มันสำปะหลังในหน้าแล้งแล้วก็มาดูอีกเทคนิคของ
คุณสวน แผนสมบูรณ์ เจ้าของไร่มันสำปะหลัง 600 ไร่ ปลูกมันสายพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และห้วยบง 60 ที่ ต.ห้วยอุ่น อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ผู้เขียนนำเสนอการเพิ่มผลผลิตด้วยตัวช่วยต่างๆโดยเฉพาะขอเหลือใช้ที่หลายคนไม่อย่างนำมาใช้อย่าง
“ขี้หมู”
“ขี้หมู”
กลายมาเป็นวัตถุดิบที่เข้ามามีบทบาทในการทำไร่มันสำปะหลังมากขึ้นหลังจากมีเกษตรกรประสบความสำเร็จในด้านการนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์
และปุ๋ยน้ำชีวภาพ ประกอบกับเป็นการลงทุนที่ต่ำ
และคุณสวนเองก็ปรับปรุงสูตรของตนเองตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นจนถึงปัจจุบัน
การทำปุ๋ยน้ำหมัก
การหมักขี้หมูแห้งสัดส่วน คือ ขี้หมูแห้ง 20 กิโลกรัม น้ำ 200 ลิตร นำขี้หมูมาแช่น้ำไว้ 24
ชั่วโมงจากนั้นแยกกากออก นำมาผสมน้ำเปล่า 2,000 ลิตรและส่วนผสมอื่นๆตามสูตร
จากนั้นนำไปฉีดพ่นในแปลงมันสำปะหลังทุกๆเดือนๆละ1-2 ครั้ง
ผลจากการใช้ปุ๋ยน้ำหมักฉีดพ่นปรากฏว่ามันสำปะหลังจะเจริญเติบโตดี
ลงหัวดกและหัวใหญ่มาก ต้นทุนลดลง เดิมที่เคยได้ผลผลิตไร่ละ 3-4 ตัน ก็ได้เพิ่มมาเป็นไร่ละ 13-18
ตัน โดยใช้ปุ๋ยเคมีลดลงมาก แต่ขี้หมูมีธาตุอาหารน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของมันสำปะหลัง
เพราะฉะนั้นเกษตรกรต้องปรับปรุงเพิ่มธาตุอาหาร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
นับว่าเป็นการปฏิรูปการจัดการไร่มันสำปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะผลลัพธ์ที่ออกมามีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ในพื้นที่ 5 ไร่ ที่เขาได้หวนกลับมาบุกเบิกใหม่หลังจากปล่อยให้เช่ามาเป็นเวลา 3 ปี และจากสภาพดินเสื่อม จนมาในปี 2547 คุณสวนเปิดเผยว่าในช่วงแรกตนยังไม่ค่อยมั่นใจในแนวทางดังกล่าว
ประกอบกับยังรับไม่ได้เรื่องการนำขี้หมูมาใช้แทนปุ๋ยเคมี แต่เนื่องจากเจ็บช้ำมาครั้งหนึ่งแล้วในการใช้เคมีที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพดินเสื่อมทำให้ได้ผลผลิตต่ำ เป็นต้น
จึงตัดสินใจเปิดใจรับในแนวทางทฤษฎีใหม่
ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วต้นทุนที่ซื้อขี้หมูเป็นต้นทุนที่ถูกกว่าปุ๋ยเคมีด้วยซ้ำ
การให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด
คุณสวนให้ข้อมูลว่า เดิมที่จากการให้น้ำแบบอาศัยเทวดาเลี้ยง
คือแล้วแต่ว่าฝนจะตกมาในช่วงใดในแต่ละปี ปีใดฝนตกมากผลผลิตก็ได้ดีหน่อย
แต่สำหรับปีใดที่แล้งผลผลิตก็จะต่ำด้วย
ดังนั้นจึงได้คิดแนวทางที่จะให้มันสำปะหลังให้ผลผลิตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกปี
โดยปริมาณไม่ห่างกันมาก และได้เล็งเห็นว่าการวางระบบน้ำในไร่เป็นหนทางที่ดีที่สุด
ซึ่งทางไร่จะเจาะบ่อบาดาลไว้ 2 บ่อ
เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งด้วย
ต้นทุนที่ใช้จ่ายไปในการติดตั้งระบบน้ำคร่าวๆคุณสวนได้เปิดเผยว่า
ค่าสายน้ำหยด ท่อเมน
เฉลี่ยรวมทั้งหมดประมาณ 7000 บาท/ไร่ จากการทดลองใช้ในปีแรกเก็บผลผลิตได้ไร่ละ
10 ตัน และขยายพื้นที่วางระบบน้ำหยดเพิ่มขึ้นอีก
และได้พัฒนาสูตรปุ๋ยพ่นทางใบใช้ร่วมกับน้ำหมักขี้หมู ถึงปัจจุบันทำให้ผลผลิตสูงถึง
15-22 ตัน/ไร่ ที่อายุเก็บเกี่ยว 15-18 เดือน
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
อายุการเกี่ยวอย่างน้อย 12-15 เดือน ทรัพย์ในดินที่เรียกว่า
“มันสำปะหลัง” เป็นพืชมหัศจรรย์ ที่ไม่ได้มีราคาแค่เพียงส่วนหัว
หากแต่ในส่วนที่เป็นลำต้นยังสามารถขายได้ หากมีการดูแลรักษาดีๆ ลำต้นสวย
และมีความสมบูรณ์ก็สามารถสร้างรายได้ให้ได้หลายพันบาท/ไร่
ซึ่งโดยทั่วไปชาวไร่มันจะขายต้นมันกันที่ราคาต้นละ 2-3 บาท ซื้อขายกันแบบเหมาไร่เฉลี่ยไร่ละ 2,000 บาท
นับว่าเป็นรายได้ไม่น้อยที่ได้นอกเหนือจากการขายหัวมันสด
คุณสวนได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่าการทำงานด้านเกษตรแม้ว่าจะเป็นงานที่เหนื่อย
และต้องลุ้นอยู่ตลอดว่าฝนจะตกหรือเปล่า ราคาผลผลิตจะเป็นอย่างไร หรืออะไรอีกหลายๆอย่าง
แต่ถ้าท่านได้มีความคิดริเริ่ม
และมีใจรักที่จะทำผู้นั้นย่อมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
เอาเป็นว่าพอหอมปากหอมคอกันแค่นี้ก่อน
สำหรับเทคนิคดีๆที่นำมาตอกย้ำให้เกษตรกรได้นำไปประยุกต์ใช้
สำหรับในฉบับต่อไปผู้เขียนจะนำข้อมูลการปลูกมันสำปะหลังจากเกษตรกรท่านใดและลงพื้นที่ตรงไหนนั้นต้องติดตาม
สำหรับฉบับนี้ขอลาไปก่อน สวัสดี โชคดีทุกท่าน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น