คุณชูชัย และคุณสุนี กลิ่นเกสร สองสามีภรรยา (โทร.08-0027-4917) ที่สลัดคราบข้าราชการครู
มาเป็นชาวสวนอย่างเต็มตัวหลังจากที่ราคาส้มถีบตัวสูงขึ้นจนทำให้หลายคนกลายเป็นเศรษฐีภายในเวลาไม่นาน
คุณชูชัยเล่าว่าเดิมรับราชการครู
อยู่ทั้งสองคนมาเป็นเวลานาน และถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ช่วงส้มรังสิตมีปัญหา
คนทุ่งรังสิตเริ่มหาพื้นที่ใหม่ในการปลูกส้มจนมาในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร คุณชูชัยและภรรยาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนเหล่านั้นได้ตามพักพวกตะลอนดูพื้นที่ทำเกษตรแห่งใหม่เช่นกัน
ต่อมา ปี 2543 ได้ซื้อที่ดินที่
อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ประมาณ 37 ไร่ ใช้เงินกว่า 5 ล้านบาท เพื่อเนรมิตพื้นที่ให้เป็นสวนส้มส้มเขียวหวานพันธุ์บางมด
“เมื่อตอนสมัยส้มทุ่งรังสิตเกิดปัญหา
คนทางทุ่งรังสิตเริ่มหาพื้นที่ทำสวนส้ม ขยับมาเรื่อยจนถึง จ.กำแพงเพชร
จนเกษตรกรในเขตนี้ทั้งทุ่ง ใครที่ไม่ปลูกส้ม ถือว่าเชยอย่างมาก แปลงเล็ก
แปลงน้อยปลูกหมด ผมเองก็เช่นกันเห็นเพื่อนๆมาหาซื้อที่ ก็มองๆไว้เหมือนกัน
แต่ตอนนั้นเราเป็นครูอยู่ทำเกษตรไม่เป็น ดูๆเขาทำและก็ซื้อที่ 37 ไร่ แล้วก็ปลูกส้มเหมือนคนอื่นเขา
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”
“หลังจากส้มเริ่มตายผมก็เริ่มหาพืชตัวใหม่มาปลูกแทน
พอดีมีคนที่รู้จักกันเขามาเยี่ยมแล้วเขาเห็นพื้นที่เรา เขาก็บอกว่า
ตรงนี้ปลูกปาล์มนี้ดีเลยนะ ในปีแรกที่ปลูกคนอื่นๆในย่านนี้ก็มองหาพืชตัวใหม่เหมือนกัน
แต่เนื่องจากแต่ละคนมีทุนน้อย และไม่มีใครมาส่งเสริม มีแต่ต่อต้านว่าทำไม่ได้
รัฐบาลก็กลัวว่าลงทุนแล้วจะมีปัญหาแบบส้มอีก
ทุกคนก็เดือดร้อนไม่มีต้นทุนในการเริ่มอาชีพใหม่
ว่ากันตามตรงว่าพืชเกือบทุกชนิดไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย
ยกเว้น นาข้าว เกษตรกรคนใดต้องการทำพืชชนิดอื่นๆ ก็ตามมีตามเกิด”
ประมาณปี 2547 มีบริษัทเอกชนจากชนบุรีเข้ามาจัดอบรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสวนปาล์มน้ำมัน เชิญหน่วยงานท้องถิ่น
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในงาน มีเกษตรกรสนใจเข้าฟังหลายร้อยชีวิต
แต่ปรากฏว่าผลตอบรับของผู้นำท้องถิ่นสมัยนั้นให้ข้อมูลไปในเชิงไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริม
เหตุการณ์ครั้งนั้นบั่นทอนสภาพจิตใจของชาวสวนส้มที่ตั้งใจจะเริ่มต้นอาชีพใหม่ไม่น้อย
บางรายโค่นส้มทิ้งไปแล้วกว่าร้อยไร่เนื่องจากโรคส้มดังกล่าว ในขณะที่หลายๆคนถอดใจ
ไม่คิดจะปลูกปาล์มน้ำมันแล้ว หากแต่ที่สวนคุณชูชัยได้ลงปาล์มเตรียมไว้พร้อมปลูกแล้ว
“หลังจากส้มตาย
ตอนนั้นก็เหมือนเสียกำลังใจแล้ว ไม่รู้จะทำอะไรดี
มองไปเห็นแต่ต้นไม้แห้งๆที่ตายแล้ว ก็เลยปรึกษากัน
เห็นมีคนบอกว่าปาล์มน้ำมันชุดนี้ปลูกได้ก็รีบเอามาเลย แทนที่เราจะได้ต้นที่สมบูรณ์กว่านี้
แต่ที่ได้มากลับเป็นปาล์มตัดใบ เป็นปาล์มอยู่ในถุงมา 2 ปีแล้ว ซื้อมาตอนนั้นต้นละ 60
บาท หลังจากนั้นไม่นานมีบริษัทเอกชนเข้ามาจัดอบรมในพื้นที่ เชิญมาหมดผู้นำท้องถิ่น
เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด แต่ผลการประชุมออกมาในเชิงว่าไม่สนับสนุน
เกษตรกกว่าร้อยคนก็เริ่มถอดใจ ไม่สู้กันก็มี ผมก็ได้แต่คิดว่าไหนๆก็คิดจะปลูกแล้ว ก็ต้องปลกเพราะซื้อปาล์มมาลงไว้แล้ว
หลังจากปลูกก็ดูแลให้เต็มที่แล้วกัน
สำหรับผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรก็ตามดูตามแก้สถานการณ์ไปตอนเอาลงปลูกในแปลงใหม่ๆใครเห็นก็บอกว่าเป็นปาล์มที่ขี้เหร่มาก”
แม้ว่าจะถูกย้อมแมวขายมาแต่เมื่อได้นำไปปลูกในแปลง
แล้วบำรุงดูแลอย่างดีผลที่ได้ดีได้เช่นกัน เจ้าของสวนบอกว่า
“ต่อให้ปาล์มขี้เหร่แค่ไหน
หากได้ลงดิน แล้วขุนดีๆ จะยังไงก็ดีหมด”
ประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ได้ลงมือลงแรงทำด้วยตัวเอง
สะท้อนให้เห็นปัญหาอะไรอีกหลายๆอย่างในการประกอบอาชีพนอกพื้นที่ส่งเสริม
และไร้การผลักดันสนับสนุน
แต่แล้วปัจจุบันนี้ผลงานประจักษ์แก่สายตาใครหลายๆคนแล้วว่า เมื่อมีความมุ่งมั่น
และ ทุ่มเท ไม่ว่าสิ่งนั้นอยากเพียงใดก็สำเร็จไปได้ด้วยดี
“อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ที่ได้ปาล์มสายพันธุ์นี้มาปลูกก็ไม่ได้ผิดหวัง
ทราบมาว่าเป็นปาล์มสายพันธุ์ของยูนิวานิช ดกมาก ทะลายใหญ่ ออกทะลายทุกต้น”
ภายในเวลา
4 ปีลุงชูชัยบำรุงดูแล
และจัดการให้ปาล์มทุกต้นมีสะโพกให้เข้าตำราการจัดการสวนปาล์มที่ดีเพื่อความสมบูรณ์ของการให้ผลผลิต
เขาตัดปาล์มมีดแรกจำนวน 600 ต้นได้ผลผลิต 14 ตัน
ซึ่งถือว่าเป็นการผลผลิตตอบแทนครั้งแรกที่คุ้มค่าและสร้างขวัญกำลังใจได้มาก
“ก่อนหน้านั้นเจอปัญหาเรื่องการให้ผลผลิต เนื่องจากปาล์มมีแต่ตัวเมีย
ไม่มีตัวผู้มาผสม ทำให้ทะลายลีบหมดใครมาดู
คนทางใต้มาดูตางก็พากันบอกว่าปาล์มเป็นกระเทยหมด ต้องโค่นทิ้งทั้งสวน
แล้วก็ปลูกใหม่ เท่านั้นเครียดเลย
แต่เนื่องจากเราเคยอยู่ทางปทุมมาก่อนและรู้จักอดีตชาวสวนส้มรังสิตที่หันมาทำสวนปาล์ม
เขาแนะนำว่าต้องช่วยในการผสมเกสร ผมก็เก็บเกสรตัวผู้มาผสมแป้งทอนคัม
(แป้งทั่วไปที่ใช้ทาตัว) 1:8 ส่วน (เกสรตัวผู้ 1 ส่วน แป้ง 8 ส่วน) ผสมให้เข้ากันจากนั้นก็นำไปพ่นใส่เกสรตัวเมียอายุนับจากออกช่อทะลายตัวเมียในระยะเวลา
1-5 วันเท่านั้นเพราะเกสรตัวเมียจะล่วงจนผสมไม่ได้”
สุดท้ายแล้วสวนปาล์มน้ำมันของคุณชูชัยก็เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหลายคนในบริเวณใกล้เคียง
จนปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวที่เคยเป็นสวนส้ม เปลี่ยนเป็นปาล์มน้ำมันเต็มพื้นที่
ผลงานประจักษ์เช่นนี้แล้วผู้ที่เกี่ยวในปัจจุบันน่าจะมีมาตรการส่งเสริมปลูกอย่างจริงจังก็คงเป็นช่องโอกาสยกระดับอาชีพของเกษตรกรได้มากกว่านี้
อย่างไรก็ตามเรื่องราวของคุณชูชัยยังคงไม่หมดเพียงเท่านี้
เขายังต้องเผชิญกับปัญหาอะไรอีก ติดามต่อฉบับหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น