เรื่อง/ภาพ : แทนไท ออนทัวร์
อาจจะเป็นเพราะกระแสทางด้านพลังงานกำลังมาแรง
หรือ อาจจะเป็นราคา และความมั่นคงในรายได้ เป็นชนวนทำให้เกษตรกรหลายๆคนหันหน้ามาทำสวนปาล์มน้ำมันกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในโซนพื้นที่ภาคอีสาน
เหนือ กลาง
หลายๆพื้นที่ที่เคยเห็นเป็นพื้นที่ปลูกพืชอื่นๆก่อนหน้านี้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นสวนปาล์มน้ำมันในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
จากปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างของสวนปาล์มน้ำมันน้อยใหญ่ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจด้านเพาะกล้าปาล์มน้ำจำหน่ายมันครึกครื้น จึงน่าเป็นห่วงเกษตรกรรายใหม่ที่อาจจะยังไม่รู้ทันพ่อค้าหัวใสที่สบโอกาสหาเงินด้วยการเก็บเมล็ดปาล์มใต้โคนมาเพาะจำหน่ายให้
จึงถือโอกาสนี้แนะนำแปลงเพาะที่ได้รับการไว้วางใจจากเกษตรกร
และมีการรองรับจากทางกรมวิชาการอย่างถูกต้องมาเสนอให้ได้ศึกษาข้อมูลไปพร้อมๆกัน ผู้เขียนเดินทางไปที่
แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันครูจันทร์พันธุ์ปาล์ม เพื่อเข้าเก็บข้อมูล
และชมแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงของเกษตรกรหลายๆหลังจากซื้อไปปลูกแล้วได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างมาก
แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน ครูจันทร์พันธุ์ปาล์ม ตั้งอยู่ที่ 161 หมู่ 7 ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร ดำเนินกิจการโดย คุณนวพรรณ แก้วนาโพธิ์ วัย 71 ปี อดีตข้าราชการครูที่หันมาจับอาชีพเพาะกล้าปาล์มน้ำมันหลังจากเกษียร
แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน ครูจันทร์พันธุ์ปาล์ม ตั้งอยู่ที่ 161 หมู่ 7 ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร ดำเนินกิจการโดย คุณนวพรรณ แก้วนาโพธิ์ วัย 71 ปี อดีตข้าราชการครูที่หันมาจับอาชีพเพาะกล้าปาล์มน้ำมันหลังจากเกษียร
จากการสอบถามทราบว่า
อดีตคุณครูท่านนี้เริ่มต้นทำแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันทั้งๆที่ไม่เคยรู้ว่าปาล์มน้ำมันนั้นมีลักษณะอย่างไร
แต่เพราะเห็นว่าผู้ที่ชักชวนนั้นเชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมันโดยตรงจึงได้ตัดสินใจลองดู
ประกอบกับวาดหวังว่าให้เป็นงานอดิเลกทำหลังเกษียรจากราชการครู
“เมื่อปี 2541 ได้เจอกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านปาล์มน้ำมันของกรรมวิชาการท่านหนึ่ง
เขาชวนให้ทำแปลงเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
ตอนแรกก็ไม่รู้จักเลยต้นปาล์มน้ำมันเป็นอย่างไร เพราะก่อนหน้านั้นรับราชการครู
แต่เห็นว่าเขาชวนก็ทำให้อยากศึกษาทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้ ในที่สุด มีเงินทุนได้ก้อนหนึ่ง
ก็ตัดสินใจทำ ตลอดระยะเวลาที่เริ่มกิจการก็ได้รับคำแนะนำนักวิชาการคนดังกล่าว
กล้าปาล์มที่ทำออกมาตอนนั้นสวยมาก เขาเป็นคนแนะนำสายพันธุ์ให้ด้วย
จำได้ว่าเป็นสายพันธุ์คอสตาริกา เขาบอกว่ามีคุณสมบัติเฉพาะสายพันธุ์คือ เปลือกหนา
กะลาบาง ให้ผลผลิตเร็ว ปริมาณผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสูง
เวลาเราขายเราก็จะบอกลูกค้าตามที่เขาแนะนำแบบนี้มาตลอด”
แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันในรุ่มเริ่มต้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยงบประมาณ
1.5 ล้านบาท ซึ่งนำมาดำเนินการต่างๆ อาทิ
ปรับสภาพพื้นที่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์เพาะต่างๆ ตลอดจนการติดตังระบบน้ำที่มีความจำเป็นอย่างมาก
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการด้านเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน
จะได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมันโดยตรง
หลังจากเพาะและมีการคัดต้นกล้าออกจนได้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพพร้อมจำหน่าย
ไม่นานก็เริ่มมีเกษตรกรให้ความไว้วางใจมาซื้อต้นกล้าที่แปลงมากขึ้นจากการบอกต่อๆกันของเกษตรกรเอง
โดยไม่ได้มีการทำการโฆษณาแต่อย่างใด
ส่วนหนึ่งนั้นมาจากต้นกล้าปาล์มที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง
เป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี จนทำให้ครูจันทร์มองหาสายพันธุ์ใหม่เข้ามาเพาะเพื่อให้เกิดความหลากหลายสายพันธุ์ให้เกษตรกรได้เลือกไปปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์นั้นๆ
ต้นกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพจำนวนมาก ที่เพาะไว้เตียมส่งมอบในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า |
“หลังจากขายไปได้ไม่นานคนซื้อเขาก็ถามถึงพันธุ์อื่นๆบ้างเราก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม
เพื่อให้ก้าวขึ้ง ในที่สุดมาได้ปาล์ม ของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี คือ
สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2
และสุราษฎร์ธานี 7 เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี
เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา”
เมื่อความไว้วางใจจากเกษตรกรตอบรับมาอย่างดีมากขึ้น
ทำให้แปลงเพาะดังกล่าวเป็นที่กล่าวถึงต่อๆกันมากจนได้ไต่ระดับเป็นแหล่งเพาะที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับแนวหน้าใน
อ.สวี จ.ชุมพร ได้ในเวลาไม่นาน ทำให้ยอดจำหน่ายกล้าปาล์มในแต่ละปีเฉียดๆแสนต้น
อย่างล่าสุดในปี 2555
ภายในเดือนเดียวทางแปลงสามารถจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันได้กว่า 5 หมื่นต้น ทั้งนี้ยังไม่นับรวมยอดสั่งจองที่มีอีกจำนวนมากทำให้ทางแปลงเกิดหาหาด้านการผลิตที่ไม่ทันต่อความต้องการของเกษตรกร
“ปริมาณที่จำหน่ายออกในแต่ละปีอย่างล่าสุด 5 หมื่นกว่าต้น ภายในเดือนเดียวก็จำหน่ายหมด
ทางแปลงไม่สามารถผลิตต้นกล้าทัน เร่งกันจนเหนื่อย เหนื่อยมากพอสมควรในการทำต้นกล้า
แต่ว่าเรามารู้ดีใจและสบายใจหลังจากที่ลูกค้านำไปปลูกแล้วบอกว่าไม่มีต้นกระเทยเลย”
เป็นความรู้สึกของผู้ขายที่แม้จะเหนื่อยสายตัวแทบขาด
แต่ก็ยังยิ้มได้หลังจากได้ทราบว่าต้นกล้าปาล์มที่พยายามคัดสรรค์อย่างดีเป็นที่ถูกใจของผู้ปลูก
ทั้งนี้ทั้งนั้น
เมื่อความต้องการปลูกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อย่างศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานีเองก็เกิดปัญหาที่ว่า
ไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ทางแปลงเพาะทันเช่นกัน
“ปัจจุบันเกษตรกรหันมาสนใจ และปลูกปาล์มกันมากขึ้น จึงทำให้ตอนี้เกิดปัญหาที่ว่าทางศูนย์วิจัยฯ ก็ไม่สามารถผลิตเมล็ด และต้นกล้าออกมาให้ทางแปลงเราได้ทันเช่นกัน ก็เกือบปีมาแล้วนะสำหรับพันธุ์ของทางราชการ แต่พันธุ์อื่นๆที่มีทางแปลงซื้อมาจากบริษัทเอกชนก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร แต่ใน 2 ปีให้หลังมานี้เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะทางแถบภาคอีสาน ตะวันออก และเหนือตอนล่าง ซึ่งมีเกษตรกรในโซนพื้นที่ดังกล่าวโทรมาสอบถาม ซื้อ ต้นกล้าจากแปลงเราเช่นกัน”
ครูจันทร์ให้เล่าให้ฟังต่อว่าพื้นที่แปลงเพาะทั้งหมดมี
11 ไร่ และภายในปี 2555
นี้มีโครงการจะขยายพื้นที่ขึ้นอีก หลังจากที่ทราบข้อมูลเบื้องต้นจากหลายๆกระแสมาว่า
หลังจากที่เกษตรกรหลายได้เลือกปลูกพืชมาหลายชนิด แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน บทสรุปคือ
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้มูลค่าตอบแทนที่มากกว่า เพราะปลูกไปเพียง ปีครึ่ง
หรือ 2 ปี ก็สามารเก็บผลผลิตได้แล้ว หลังจากนั้นเก็บผลผลิตๆได้ทุก
15 วัน อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่า 20-25
ปี จึงทำให้มีความต้องการปลูกของเกษตรกรสูงอย่างต่อเนื่อง
ความสุขที่ทำให้เกษตรกรเขาประทับใจได้ตลอดเวลา
10 กว่าปี ที่อดีตข้าราชการครูผู้ที่ไม่เคยรู้จักต้นปาล์มน้ำมัน
เธอสู้ชีวิตพร้อมทั้งบริหารธุรกิจด้านเพาะและจำหน่ายต้นกล้าปาล์ม
ยึดมั่นในความถูกต้อง ผลิตต้นกล้ามีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้านำไปปลูก จนได้รับผลตอบรับเป็นในทางที่ดีมีคุณภาพดี
เกษตรกรที่ได้ซื้อไปปลูกมีการแนะนำกันแบบปากต่อปาก ทำให้ที่แปลงเพาะแห่งนี้มีลูกค้าอยู่ทุกภาคไม่ว่าจะเป็น
เหนือ ใต้ ออก ตก
“ต้นกล้าที่ซื้อไปจากแปลงเรา เรารับผิดชอบ หากมีปัญหาอะไรเขาจะโทรมา เราก็ยินดีที่จะอธิบายให้เขาทราบ บางรายเขาไม่เข้าใจในเรื่องของต้นกล้าก็ต้องสอนกันผ่านทางโทรศัพท์ แม้อายุจะมากแล้ว สุขภาพก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงเท่าไรแต่ว่าหัวใจที่มันอย่างจะให้ความถูกต้องแก่เกษตรกร ต้องมาทนนั่งดูแล ถึงจะมีคนงานดูแล 5 คนแล้วก็ตาม แต่เมื่อเห็นเกษตรกรเข้ามาซื้อกล้าที่สวนก็ทนไม่ได้ก็ต้องออกมานั่งคุย แม้ปัจจุบันนี้จะมีพันธุ์ดีๆราคาไม่แพงมากจำหน่าย แต่ยังมีเกษตรกรบางรายหลงผิดเก็บเมล็ดใต้โคนไปเพาะและปลูกเอง กลายเป็นพันธุ์ดวงดี พันธุ์ใต้โคน พันธุ์ดูใบไปก็มาก นั่นเพราะวิชาการเข้าไม่ถึงเขา”
ครูจันทร์เผยว่า
ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่เริ่มให้ความสนใจปาล์มน้ำมันที่ทะลายเขียวมากขึ้น
เพราะให้ผลผลิตดี ทะลายต่อต้นดก ลักษณะทะลายสวย และ เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
นอกเหนือจากนั้นยังช่วยให้ง่ายในการตัดผลผลิต เนื่องจากสีของทะลายจะบ่งบอกชัดเจน
ซึ่งหากเป็นสีเขียวอยู่หมายความว่ายังดิบ ไม่สามารถตัดจำหน่ายได้
แต่หากทะลายเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อไรนั่นแสดงว่าสุกพร้อมตัดจำหน่ายแล้ว
ซึ่งทางแปลงก็ได้มีกาสั่งซื้อเมล็ดมาเพาะด้วยเช่นกัน
“ปาล์มที่ลูกเขียวเป็นปาล์มสายพันธุ์พรีเมี่ยม
พันธุ์คุณภาพแต่เกษตรกรไม่เข้าใจ เมื่อก่อนลานบอกว่าไม่ซื้อเลย
เป็นความเข้าใจไม่ถูกต้องของเกษตรกร ในกรณีปาล์มที่แสดงออกมาเป็นสีเขียว
ต้องรอให้ผลออกเป็นสีส้มนั่นจึงสามารถตัดจำหน่ายได้
หายังมีสีเขียวอยู่เมื่อตัดแล้วนำไปจำหน่ายทำให้โรงงานไม่สามารถสกัดน้ำมันได้เพราะยังดิบอยู่และไม่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันเต็มที่
หรือเรียกง่ายๆว่ายังดิบอยู่นั่นเอง จึงทำให้ทางโรงงานและลานรับซื้อต่างๆคัดออกไม่รับซื้อ
จึงทำให้เกิดกระแสที่ว่าโรงงานและลานรับซื้อไม่ซื้อปาล์มที่ให้ทะลายสีเขียวเป็นต้น”
เจ้าของแปลงเพาะครูจันทร์พันธุ์ปาล์มอธิบายให้ฟังถึงความจริงของปาล์มทะลายเขียวที่เคยเป็นสายพันธุ์ไม่ได้ความสนใจจากผู้ปลูกในสมัยก่อน
(ซ้าย) คุณสัญญา ปานสวี (ขวา) คุณนวพรรณ แก้วนาโพธิ์ (ครูจันทร์) |
ครูจันทร์กล่าวทิ้งท้ายในมุมมองของตนต่อส่วนร่วมว่า
แปลงเพาะต้นกล้าที่ไม่ได้มาตรฐานยังไม่มีการตรวจสอบอย่างเคร่งคัดทำให้วงการปาล์มถอยหลัง
ขอให้รัฐบาล หันมาดูเกษตรกรให้มาก มีความจริงใจกับเกษตรกร
เพราะจะเป็นบทการส่งเสริมเกษตรกรให้มีความมั่นคงและมั่งคั่งด้านอาชีพขึ้นมา เมื่อเกษตรกรอยู่ได้
ผลพลอยได้ในเชิงบวกต่อสังคมก็จะมีขึ้นอย่าง เช่น ปัญหาการเสพติ การพนัน โจรกรรม
ก็ลดน้อยลงไป จนเกือบจะไม่มี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ครูจันทร์พันธุ์ปาล์ม 161 หมู่ 7 ต.นาโพธิ์ อ.สวี
จ.ชุมพร โทร.08-1894-8187
ข้อมูลจาก : นิตยสารพืชพลังงาน ฉบับที่ 53/2555 หน้า 28
ยอดเยี่ยมที่สุด แวะไปอุดหนุนกันนะครับ
ตอบลบปี 56 นี้ก็ยังคงขายดีแบบคึกคักเหมือนเดิมหรือปล่าค่ะ..
ตอบลบ