นายอำพล แดงบรรจง |
เมื่อพูดถึงเรื่องของสายพันธุ์
แม้ว่าสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันเมืองไทยจะมีจำหน่ายอยู่มากมายและหลายบริษัทที่ได้รับความนิยม
และไว้วางใจด้านคุณภาพต้นกล้าจากเกษตรกร สำหรับ บริษัท สินธุเศรษฐ์ จำกัด
ก็เช่นกันที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเนื่องจากประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตต่อไร่
และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน
แม้ว่า นายวิสันต์ สินธุนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท
สินธุเศรษฐ์ จำกัด ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมงานได้ เนื่องจากติดภารกิจด่วน
แต่เขาได้ส่ง นายอำพล แดงบรรจง
หลานชายที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงมาร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเขาก็ไม่ทำให้ผิดหวังพร้อมกล่าวให้ผู้เข้าร่วมเสวนาฟังว่า
มีหลายครั้งเช่นกันที่จะหลีกไม่พ้นเรื่องของจำนวนต้นที่ปลูก/ไร่ระหว่าปาล์มสายพันธุ์คอมแพ็คท์
ที่สามารถปลูกได้ 28
ต้น/ไร่ ในขณะที่สายพันธุ์ทั่วไปปลูกได้เพียง 26 ต้น/ไร่
นายอำพล ไม่อธิบายอะไรมาก เพราะอธิบายกันมามาก และเกือบทุกเวทีเลยก็ว่าได้
หากแต่ท้าพิสูจน์โดยการให้เข้าดูแปลงปลูกที่ทางบริษัทได้ปลูกไว้
รวมทั้งแปลงปลูกที่เกษตรกรหลายๆพื้นที่นำไปปลูกที่มีปาล์มตั้งแต่อายุ 3 ปี ไปจนถึงปาล์มใหญ่
“ เราจะไม่พูดเรื่องตัวเลขว่าเป็นอย่างไร
แต่ว่าเราเปิดให้ทุกท่านที่สนใจและทดลองเรื่องของ ปริมาณผลผลิตต่อไร่ ต่อปี
ตลอดจนตรวจสอบเรื่องเปอร์เซ็นต์น้ำมัน
เพราะทางบริษัทเองก็มีความมั่นใจในระดับหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของสายพันธุ์
ทั้งนี้เราก็ได้ปลูกเป็นแปลงตัวอย่างให้เกษตรกรได้ดูโดยได้นำไปปลูกในเขตหนองเสือกว่า
3,000 ไร่ และที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว อีก 1,500 ไร่ ทั้งนี้ได้กระจายไปปลูกในเขตอื่นๆอย่าง จ.กาญจนบุรี
พื้นที่ที่มีข้อกังขาในเรื่องของปริมาณน้ำ เป็นต้น
จากที่ผ่านมาทางเราก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจในเรื่องของเกษตรกรที่ซื้อพันธุ์เราไปปลูก
ซึ่งเขาเองก็ได้ทำการทดลองด้วยตัวเองโดยการปลูกเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นด้วยเช่นกัน”
แม้ว่าการกระจายสายพันธุ์ปลูกในแต่ละพื้นที่ทางบริษัทจะมีการสอบถามลูกค้าทุกครั้งปลูกที่ไหน
และมีแหล่งน้ำหรือไม่
หากมองดูเสี่ยงเกินไปทางบริษัทก็ไม่จำหน่ายสายพันธุ์ให้เช่นกัน
ดังนั้นการบริการหลังการขาย และแผนการตลาดจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากเพื่ออธิบายความชัดเจนจนให้เกษตรกรได้รับทราบ
“สำหรับเรื่องของเปอร์เซ็นต์น้ำมันทางบริษัทเราจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
มีการสุ่มตัวอย่างเพื่อเช็คเปอร์เซ็นต์น้ำมันอยู่อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งตรงนั้นจะเป็นเครื่องการันตีให้เราได้ว่าสายพันธุ์จากทางบริษัทเราให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเกษตรกรจริงๆ
ที่ผ่านมาปาล์มน้ำมันสายพันธุ์คอมแพ็คท์ยังเป็นส่วนน้อยในการที่เขามาแชร์ความนิยมดั้งเดิมในเรื่องของการรับซื้อแบบกำหนดราคา/กิโลกรัม
หรือ ซื้อรวม เขาไม่เสียเวลามาซื้อแบบเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ยังเป็นส่วนน้อย
แต่คาดว่าในอนาคตความโชคดีต้องเข้าข้างผู้ที่ปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันดีๆอย่างแน่นอน”
อาจจะเป็นอีกท่านหนึ่งที่ไม่ถนัดในการพูดสักเท่าไร
หากแต่ผลงานในเชิงปฏิบัตินั้นจะเป็นคำอธิบายข้อสงสัยทั้งหมดของทุกเรื่องราว
ทั้งนี้ทั้งนั้นในการขายของ บจก.สินธุเศรษฐ์
ก็ยังคงเน้นในการสอบถามถึงความพร้อมของสภาพพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาตัดสินใจการขายด้วยเช่นกัน
หากพื้นที่นั้นๆไม่พร้อม การจำหน่ายต้นพันธุ์ย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
3.กำหนดให้มีกฎข้อบังคับอย่างเข้มงวดด้านมาตรฐานโรงงาน
และ ลานเท
นายสุวิทย์ พยัพพานนท์ |
เป็นหัวข้อถกเถียงที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลงให้กันสักที่เรียกได้ว่าสู้กันทั้งบนดิน
ใต้ดิน จนสะเทือนไปทั่ววงการเรื่องของมาตรฐานโรงงาน และลานเท
เพราะไม่รู้ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันขาดหายไป
เอาเป็นว่าลองฟังเสียงของผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องของลานเท
และโรงงานดูบ้างว่ามีความเห็นอย่างไร แล้วค่อยไปฟังผู้ที่ดำเนินงานด้านโรงงานกันต่อ
สุวิทย์ พยัพพานนท์ ผู้เขย่าวงการปาล์มน้ำมันด้วยผลงานการให้ปุ๋ยด้วยการเจาะต้น
ซึ่งก็ได้รับความฮือฮาอย่างมากจากหลายๆฝ่ายของคนวงการปาล์มน้ำมันถึง “ผลดี
ผลเสีย” วิธีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องนั้นก็ต้องสอบถามรายละเอียดเชิงลึกโดยตรงกันอีกทีแล้วกัน
กลับมายังหัวโขนอีกหัวที่เขาสวมอยู่นั้นคือ อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง สุวิทย์ พยัพพานนท์ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันมานาน และเป็นผู้ที่มีแนวคิดที่ได้จากการลงพื้นที่ดูงานต่างๆมาประมวลให้สมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบทุกครั้งที่มีโอกาสได้เข้าร่วมในการประชุมต่างๆอย่างครั้งนี้ เขายกตัวอย่าง อุตสาหกรรมของประเทศจีนได้มีโอกาสได้เดินทางไปดูงานมาทำให้ทราบมาเบื้องหลังของความสำเร็จ และการทำงานอย่างเป็นระบบของประเทศจีน เพราะมีการผลักดันอย่างชัดเจนของรัฐบาล เช่นใครสนใจเรื่องปาล์มก็รวบรวมสมาชิกมาแล้วเรียนรู้เรื่องนั้นโดยตรง และจริงจัง นั่นแสดงให้เห็นว่าเขาตั้งใจเรียนรู้เมื่อเรียนเสร็จลงมือปฏิบัติทันที
จะเห็นได้ว่าข้อมูลเบื้องต้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดระนองกล่าวมานั้นจะสอดคล้องกับ
น.ต.ถนิต พรหมสถิต ที่ว่าควรจะผลักดันให้เกิดคลัสเตอร์ปาล์ม
เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง อย่างประเทศจีนที่เขาก้าวหน้าในเรื่องของผลผลิตที่ดีเมื่อเทียบกับต้นทุนในการผลิต
นอกจากนั้นนายสุวิทย์ยังเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเหมือน “ลับ ลวง
พลาง” ของโรงงานหีบเมืองไทยให้ทราบถึงส่วนได้ ส่วนเสียให้สื่อ
และผู้เข้าร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ให้ทราบว่า
“ในการตั้งโรงงานด้วยต้นทุนไม่ต่ำกว่า 300
ล้านได้และดำเนินงานพร้อมได้กำไรนอกเหนือจากรายได้ที่ได้จากปรายโปรดักส์แล้ว
ยังมีส่วนที่ทางโรงงานไม่ได้บอกให้เกษตรกรทราบ คือ น้ำมันเมล็ดใน, ทะลายเปล่า,
กะลาปาล์ม เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็สามารถสร้างเงินให้มากเช่นกัน
โดยเฉพาะที่ชาวสวนเสียเปรียบที่เห็นได้ชัดคือโรงงานไม่ได้คิดในส่วนของน้ำมันเมล็ดใน”
นายสุระ ตั๊นวิเศษ |
สำหรับ นายสุระ ตั๊นวิเศษ ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ ตัวแทนจาก
บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม จำกัด แสดงความคิดเห็นในมุมมองส่วนตัวว่าประเทศไทยเปิดเสรีเรื่องลานเทมากจนเกินไป
ประมาณการณ์คร่าวๆแต่ละจังหวัดมีลานเทเกือบร้อยลาน
เมื่อมีการเปิดเสรีใครใคร่จะทำก็ทำ จนลานเทเกลื่อนกลาดไปทั่วเมืองสิ่งที่ตามมาคือคุณภาพของผลผลิตกว่าจะถึงโรงงาน
ก็สูญเสียไปมากแล้ว
“ที่ผ่านมา
หรือแม้แต่ปัจจุบันแปลกใจไหมว่า
ทำไมลานเทสามารถซื้อผลผลิตปาล์มราคาสูงกว่าหน้าโรงงานได้
นั่นเพราะเขานำทะลายปาล์มมาผ่านกระบวนการที่จะได้มาซึ่งลูกร่วงเพราะราคาลูกร่วงสูงกว่าปาล์มทะลายนั่นเอง
ผมเคยเห็นบางช่วงที่ผ่านมาราคาปาล์มทะลายกิโลกรัมละ 7 บาท แต่ราคาลูกร่วงอยู่ที่กิโลกรัมละ
14 บาท ผมถามตรงๆว่าภาครัฐเคยลงมาดูจุดนี้ไหม
จริงๆแล้วควรมีข้อบังคับถ้าโรงใหญ่ซื้อปาล์มทะลาย โรงเล็กก็ต้องซื้อปาล์มทะลายด้วย
หากรับซื้อแต่ลูกร่วงมาเกรงว่าอนาคตต่อไปเหล่าลานเทคงได้ทำตะแกรงสั่นกันแน่นอน
เพราะทุกวันนี้ส่วนใหญ่ก็มีตะแกรงกันแล้วเพียงแค่ยังไม่สั่นเท่านั้นเอง
หากยังปล่อยปะละเลยเรื่องนี้อยู่ ซ้ำร้ายอาจจะมีการพรมน้ำด้วยอย่างแน่นอน”
ทั้งนี้
ปฐมเหตุที่เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของเกษตรกรสวนปาล์มนั้น
นอกจากเกษตรกรบางรายเองที่ตัดปาล์มดิบจำหน่ายแล้ว เกษตรกรที่ตัดปาล์มสุกมาจำหน่ายยังต้องเผชิญกับปัญหาจากถูกเอารัดเอาเปรียบโดยพ่อค้าคนกลาง
หรือในวงการเรียกกันว่า “ลานเท” บางลานที่ไม่มีมาตรฐานในการรับซื้อ
และไม่มีความชื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเอง
ลานเทมีหน้าที่รับซื้อปาล์มจากเกษตรกร
แล้วนำไปขายต่อให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปปาล์ม เล่เหลี่ยมที่ลานเทบางลานใช้ คือ
การโกงตาชั่ง ซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่อชาวสวนตัดปาล์มมาขาย
จะฉีกน้ำและทรายเข้าในผลปาล์ม เพื่อให้เมล็ดปาล์มส่วนที่ดี ที่เรียกกันว่า “ลูกร่วง” หลุดออกมาแล้วนำขายโรงงานเอง
หรือบางลานสร้างตะแกรงไว้ เมื่อรับซื้อผลผลิตมาก็ทิ้งผลผลิตลงตะแกรงเกิดลูกร่วง
จากนั้นก็ได้ปาล์มทะลายที่เหลือไม่ต่างจากซากทะลายเปล่าส่งเข้าโรงงาน
ทำให้ผลผลิตปาล์มที่ชาวบ้านส่งมาขายเหลือแต่ปาล์มคุณภาพต่ำ
เมื่อส่งไปเข้าโรงงานสกัดแล้วจะได้น้ำมันคุณภาพต่ำ
โรงงานจึงกลับมากดราคารับซื้อจากชาวสวนอีกต่อ ส่วนลานเทนอกจากจะได้กำไรจากผลต่างราคารับซื้อขายแล้ว
ยังได้กำไรจากการแอบลักลอบขายลูกร่วงของชาวสวนอีกต่อ
“ผมเองก็ต้องการให้ราคาปาล์มน้ำมันอยู่ที่ 7 บาท เพราะนั่นจะช่วยให้ระบบต่างๆในภาคอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเดินสะดวกขึ้น
แต่เมื่อเราได้ผลผลิตที่ด้อยคุณภาพเข้ากระบวนการหีบ ต้นทุนในกระบวนการสูงขึ้น
ถามว่าโรงงานจะอยู่ได้ไหม ก็ไม่ได้เช่นกัน
ดังนั้นรัฐควรมีกฎข้อบังคับตั้งแต่โรงงานลงมาเลยดีกว่าสมมติว่ากำหนดไปเลยให้ที่ 17% ยืนพื้นเป็นมาตรฐานไว้ถ้าโรงไหนทำไม่ถึงต้องให้หยุดปรับปรุง
ผมมีประสบการณ์ทำงานอยู่กับโรงงานอ้อยเขามีระบบ CCS.
โรงไหนทำไม่ถึง 10 CCS.โรงนั้นจะถูกปรับตาม CCS.ที่ขาดไป ยกตัวอย่างโรงงาน ก.รับซื้ออ้อยทุกมาตรฐานเลย
ไม่คัดแยกประเภทอ้อยเผาตอ หรือ อ้อยสด จากนั้นนำมาเข้ากระบวนการหีบผลออกมาได้เพียง
9 CCS. ซึ่งราคากลางหรือมาตรฐานต้องได้ไม่ต่ำกว่า 10
CCS. จะต้องเสียค่าปรับ ในขณะที่โรงงาน ข.หีบแล้วได้มากกว่า 10 CCS. ก็สามารถได้เงินเพิ่มตาม CCS. ที่เพิ่มขึ้น
ลานเทเองจะเป็นอะไรมากไหมหากไม่ทำตะแกรงแยกลูกร่วง
ไม่ทำให้เกิดลูกร่วงผิดธรรมชาติ
ผมมองว่าถ้ามีกฎตรงนี้จะช่วยให้ส่วนที่เราสูญเสียไปก็จะได้กลับมา”
เมื่อมีกฎและข้อบังคับในส่วนของลานเท และโรงงานแล้ว
ในส่วนของเกษตรกรเองก็ต้องเข้มงวด เกษตรกรไม่ควรใจง่ายเกินไป เห็นเพื่อนปลูกก็ปลูก
ซึ่งนั่นจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดหลายๆอย่างทั้งเรื่องสายพันธุ์ การจัดการสวน
และการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละพื้นที่ได้ส่งนักวิชาการ
หรือผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูบ้างหรือไม่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วได้ผลผลิตดีไหมโดยเฉพาะภาคอีสาน
ตอนนี้นักวิชาการมีแต่คัดค้านเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่าง การปลูกปาล์มน้ำมันที่หนองเสือช่วงแรกก็มีนักวิชาการคัดค้านว่าปลูกไม่ได้เพราะดินเปียวเกิน
หรือ ตอนนี้ปลูกที่ภาคอีสาน ก็ค้านว่าไม่ได้ที่มันแล้ง ปริมาณฝนไม่พอ
หรือแม้กระทั่งภาคเหนืออย่าง จ.เชียงราย
ก็บอกว่าปลูกไม่ได้เช่นกันเพราะอากาศเย็นหนาวเกินไป แต่ลองตรวจสอบดูจะรู้ว่าปัจจุบันนี้พวกเขาเหล่านั้นปลูกกันมาเกือบ
10 ปี แล้ว
และได้ผลผลิตดีเป็นที่น่าพึงพอใจมาก
“จริงๆนักวิชาการไม่ต้องมาเบรก
ให้คิดว่าเกษตรกรในพื้นที่นั้นๆอยากจะปลูกก็ไปหาแนวทางมาว่าความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
มีที่รับซื้อไหม แนะนำเขาอย่างถูกวิธี ทำให้ในพื้นที่ปลูกนั้นให้ได้แล้วหากประสบความสำเร็จเกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง
มีรายได้ ผลงานนั้นก็คือของคุณ”
สำหรับเรื่องของความชื้นสัมผัส ยกตัวอย่าง
ที่ผ่านมามีหลายท่านบอกว่า จังหวัดชลบุรี ความชื้นสัมผัสไม่พอ
ต่อมาเกษตรกรมีระบบการจัดการที่ดีจนบางสวนสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 4-5 ตัน/ไร่/ปี จากจังหวัดชลบุรีไปที่ภาคอีกสานจะบอกว่าไม่มีความชื้นก็ไม่ใช้โดยสิ้นเชิง
เพราะภาคอีสานจะได้รับอิทธิพลความชื้นมาจากแม่น้ำโขงและฝั่งลาว
เมื่อลองสังเกตดีๆสวนปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่แถบบริเวณทะเล ซึ่งจะมีความชื้นมาก
สำหรับในเขตภาคอีสานเลาะแถบแม่น้ำโขงสามารถปลูกได้ทั้งนั้น
ต่อมามองถึงสภาพการผลิตแต่ละพื้นที่ถึงภาคอีสานจะสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้
แต่จะคาดหวังให้ได้ผลผลิตเหมือนภาคใต้คงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเกษตรกรใส่ใจ
การจัดการดี น้ำและปุ๋ยเพียงพอ เก็บผลผลิตเฉลี่ย 3 ตัน/ไร่ ถือว่าเขาประสบความสำเร็จแน่นอน
“สำหรับการแนะนำเกษตรกรเรื่องของสายพันธุ์ตอนนี้ไม่มีใครเด่นกว่าใครสิ่งที่ผมแนะนำทุกครั้งที่มีโอกาสคือคุณจะซื้อพันธุ์อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นลูกผสมเทเนอรา
แต่อย่างซื้อเพียงแค่เป็นเทเนอรา แต่ให้ซื้อชื่อมาด้วย ยกตัวอย่าง ลูกผสมเทเนอรา
บริษัท ก. เป็นต้น”
(อ่านต่อตอนที่ 3 (จบ))
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น