Translate

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ชาวสวนปาล์มน้ำมัน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร สะท้อปัญหาด้านการส่งเสริม และ การซื้อขายไม่เป็นธรรมของลานเทในพื้นที่

เรื่อง/ภาพ : พยัคฆ์ทมิฬ
เมื่อฉบับที่แล้วเราได้พูดถึงเส้นทางในการก้าวผ่านอุประสรรค์ต่างๆในการทำสวนปาล์มน้ำมันนอกพื้นที่ส่งเสริมของ คุณชูชัย และ คุณสุนี กลิ่นเกสร สองสารมีภรรยาอดีตข้าราชการครูมาพอประมาณ และผู้เขียนได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ยังคงมีอุประสรรค์ชิ้นโตรอให้ทั้งสองได้เผชิญอีกคืออะไร แล้วเขาแก้ไขปัญหากันอย่างไร
ตั้งแต่ที่นำต้นกล้าปาล์มลงปลูก ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ปาล์มในแปลงมีความอุดมสมบูรณ์ และให้ผลผลิตเป็นที่พึงพอใจอย่างมาก อายุก็ปาเข้าไปกว่า 8 ปีแล้ว
ขอกล่าวถึงสภาพแปลงปลูกสักเล็กน้อย เนื่องจากคุณชูชัยเดิมเป็นคนย่านลาดหลุมแก้ จ.ปทุมธานี เขาจึงได้รับความนิยมในการสร้างสวนปาล์มแบบยกร่อง ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นร่องส้มเดิมนั่นเอง แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากพักพวกก็คน เขาจะทำการกลบร่องน้ำเดิม แล้วขุดร่องใหม่ โดยขยายให้พื้นที่หลังร่องกว้างขึ้น ทั้งนี้เจ้าตัวให้เหตุผลเบื้องต้นว่า เพื่อให้รากปาล์มได้มีพื้นที่ในการหากินได้มากขึ้น
อีกหนึ่งเทคนิคที่ได้จากชาวสวนปาล์มทุ่งรังสิตคือ การช่วยผสมเกสร โดยการเก็บเกสรตัวผู้ไว้ แล้วรอให้เกสรตัวเมียออก แล้วนำเกสรตัวผู้ผสมกับแป้งแล้วนำไปพ่นใส่ จากนั้นไม่นานการออกทะลายที่สมบูรณ์ก็มีให้เห็น จนตัดขายได้
สิ่งที่ทิ้งท้ายไว้ฉบับที่แล้วถึงปัญหาที่เขาทั้งคู่เผชิญอยู่สืบเนื่องมาจากกระบวนการผลิตนั่นคือ “แหล่งรับซื้อ” แม้ในพื้นที่จะมีลานรับซื้ออยู่ก็ตาม หากแต่เขายอมกัดฟันจ่ายเงินกว่า 7,000 – 10,000 บาท/เที่ยว เป็นค่าจ้างรถหกล้อขึ้นปาล์มไปขายถึงจังหวัดชนบุรี
“อย่างที่เล่าให้ฟังตั้งแต่ต้นที่นี้ทำสวนส้ม แล้วก็มีพ่อค้าที่เขารับซื้อส้มหันมาทำลานปาล์ม หลังจากที่เกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกปาล์มแทนส้ม จึงทำให้เขาต้องปรับเปลี่ยนตามเหมือนกันเขาลงทุนทั้งซื้อเครื่องชั่ง ทำลาน แต่สิ่งที่ทำให้เราไม่ค่อยจะส่งผลผลิตเข้าที่ลานนี้ก็เพราะเขาซื้อราคาถูกมาก หรือเรียกง่ายๆว่ากดราคา ยกตัวอย่า ราคาปาล์มทะลายหน้าโรงงานอยู่ที่ 6 บาท ที่นี้เขาก็จะรับซื้อที่ 4 บาท ส่วนต่างหายไปตั้ง 2 บาท ณ.ตอนนี้ โรงงานประกาศ 5 บาท เขาก็ซื้อ 3 บาท ที่นี้เกษตรกรรายอื่นๆก็จำเป็นไปขายเนื่องจากมีผลผลิต 3 ตัน 5 ตัน มันไม่คุ้มที่จะวิ่งส่งไกลๆ ของผมเองก็ใส่รถวิ่งไปส่งลานรับซื้อที่กลุ่มระพีพัฒน์ หรือ ตรงลานหนองเสือ”
คำตอบ ของข้อสงสัยที่ว่าทำไมเขาถึงเลือกที่จะเสียค่าจ้างรถหกล้อขนปาล์มไปขายไกลๆ ซึ่งจากอำเภอบึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ไปถึง อำเภอบึงซำอ้อ จ.ปทุมธานี ระยะทางเฉลี่ยกว่า 276 กิโลเมตร แทนที่จะขนไปขายที่ลานในชุมชนตนเองที่ห่างออกไปไม่ถึง 10 กิโลเมตรด้วยซ้ำ
ปัญหานี้ยังไม่มีหน่วยงานไหน หรือใครยื่นมือเข้าไปจัดระเบียบเพื่อความเป็นธรรมแก่เกษตรกรในพื้นที่ สาเหตุเพราะพืชดังกล่าวยังไม่ได้รับการส่งเสริมปลูกอย่างเป็นทางการ หรือที่เข้าใจง่ายๆว่าเกษตรกร “ดวงซวย” ที่ปลูกปาล์มน้ำมันนอกพื้นที่ส่งเสริมนั่นเอง
จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อพื้นที่ทำกินของแต่ละคนไม่ได้โยกย้ายได้ง่ายๆ หรือ เลือกที่จะทำในเขตที่เขาส่งเสริมได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจส่งปาล์มมาขายถึง จ.ปทุมธานี ยังพอให้เขามีเงินเหลือได้ใช้จ่ายอื่นๆอยู่บ้างหลังจากหักต้นทุนต่างๆไปแล้ว
“เราจ้างรถหกล้อขนปาล์มไปขายราคา 7,000 บาท/เที่ยว บรรทุกได้ 9-10 ตัน แต่ถ้าเป็นรถสิบล้อจะราคา 10,000 บาท/เที่ยว บรรทุกได้สูงสุด 15 ตัน ถามว่าคุ้มไหม..?? ต้องบอกว่าแค่ส่วนต่างระหว่างขายให้ที่นี้ กับขนไปขายที่หนองเสืออยู่ที่ตันละ 1,500 บาท ยกตัวอย่าง ไปส่งที่หนองเสือ 10 ตัน  เฉลี่ยที่ราคาปาล์มกิโลละ 5 บาท จะได้เงิน 5 หมื่นบาท หักค่าจ้างรถ 7,000 บาท จะคงเหลือเงิน 43,000 บาท เปรียบเทียบกับนำปาล์มไปขายที่ลานที่นี้ 10 ตัน เขารับซื้อน้อยจากหน้าโรงงานลงมา 2 บาท คือ 3 บาทจะได้เงินแค่ 30,000 บาทเท่านั้น นี้ขนาดไม่มีค่าขนส่งนะ”
เงินที่ควรจะได้เป็นผลกำไรถูกหดหายไปจากการรับซื้อที่ไม่เป็นธรรม จึงทำให้คุณชูชัยเลือกที่จะส่งปาล์มไปขายต่างถิ่น เพราะนอกจากจะได้ราคาที่ดีแล้วยังคงเหลือเงินไว้ใช้จ่ายอย่างอื่นอีก ไม่ทำให้ต้องตกอยู่ภาวะจำยอม และขาดทุน
เกษตรกรรายย่อยที่มีผลผลิตปาล์มยังไม่มาก หากต้องเหมารถวิ่งไปส่งไกลๆอย่างเช่นคุณชูชัยก็คงไม่คุ้มทุน จึงจำยอมที่จะต้องขายให้ลานดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ตามลานปาล์มแห่งนี้ก็ยังสามารถรวบรวมผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 100 ตัน/เดือน และเมื่อลานรับซื้อดังกล่าวส่งปาล์มไปขายยังโรงงานที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นโรงเดียวกับลานที่กลุ่มหนองเสือส่งเหมือนกัน เขาก็จะได้เงินส่วนต่างที่มากมายมหาศาล จุดบอดที่น่ากลัวอย่างนี้ กลับไม่ได้อยู่ในสายตาของ ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “นักส่งเสริม” ในพื้นที่เลย 
“มหัตภัยร้าย” ที่กำลังคืบคลานเข้ามาทำลายเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร นานแล้วที่พวกเขาต้องต่อสู่กันเพียงลำพัง ทั้งๆที่ปลูกปาล์มน้ำมันกันมานานจนเริ่มทยอยเก็บผลผลิตได้แล้ว หรือจะต้องรวมตัวกันต่อสู่และเสนอความจำนงให้ภาครัฐได้เห็นอย่างเช่นกลุ่มหนองเสือ หากแต่ใครหละที่จะเป็นผู้ถือธงนำ และเป็นตัวหลักในการรวมกลุ่ม เพราะจากข้อมูลที่ทราบ ณ.ปัจจุบันนี้การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หรือ ชมรม ยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างเลย
ย้อนไปเมื่อ 8 ปีก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการหาทางพัฒนาสวนส้มร้างกว่าแสนไร่ย่านทุ่งรังสิต และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ในที่สุดกรมพัฒนาที่ดินก็ได้วางโมเดลการพัฒนาสวนส้มร้างทุ่งรังสิต 2 รูปแบบคือ พัฒนาที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน  และ  การทำการเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งปรากฏว่า การปลูกปาล์มภายใต้โครงการ “ทดสอบปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้มร้าง” ได้รับความสนใจอย่างมากของเกษตรกร พร้อมทั้งได้แรงผลักดันจากหน่วยงานส่งเสริมในพื้นที่ทำให้วันนี้ “ปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต” ได้เป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศ
 สิ่งสำคัญของความสำเร็จนั้นประกอบไปด้วย การตั้งมั่นในการทำเกษตรชนิดใหม่อย่างจริงจังของเกษตรกร การสามัคคี มีการร่วมกลุ่มปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเทคนิค ความรู้ การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการ และ การผลักดันส่งเสริม ของหน่วยงานในท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้รวมกันออกมาเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจ และเป็นต้นแบบที่ดี ที่หลายพื้นที่น่าจะนำไปยุกต์ใช้
เป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่า ปัจจุบันในพื้นที่ภาคกลางอีกหลายจังหวัด ที่ระบบที่สมบูรณ์สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่เคยขาดทุนจากส้ม ลองหันมาสร้างรายได้จากการปลูกปาล์มน้ำ โดยนำเอาโมเดลปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต อ.หนองเสือ เป็นกรณีศึกษา

4 ความคิดเห็น:

  1. ในเขต ไทรงาม จ.กำแพงเพชร มีรับจ้าง รับเหมาตัดปาล์มป่าวคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมอยากรู้ว่าลานปาร์มอยู่ที่ไหนครับ
      ผมอยู่เขต ต.บ่อถ้ำ
      มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับมั้ยครับ

      ลบ
  2. ทำไมไม่ออกรถเองเลย ดีกว่าไปจ่ายค่าจ้างตกเดือนละ14000-20000 ผ่อนเดือนละ 20000 แถมเรายังได้รถ เป็นของเราด้วย

    ตอบลบ
  3. สวัสดีครับ
    ผมอยู่เขต ต.บ่อถ้ำ
    มีอยู่10ไร่ 220ต้นครับ

    ตอบลบ