วันนี้คงไม่มีใครกล้าถามแล้วว่า “ทุ่งรังสิต”
ปลูกปาล์มได้หรือไม่...!!!
พอๆ
กับคำถามที่ว่าปลูกแล้วจะให้ผลผลิตไหม และปลูกแล้วจะนำไปขายที่ไหน เป็นต้น
เพราะคำถามเหล่าผ่านการพิสูจน์จนได้คำตอบแล้วว่าสามารถทำได้
และทำได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น นอกเหนือจากภาคใต้ เพราะความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ
ตัวเลขยืนยันชัดเจนคือ
ทุ่งรังสิตมีปลูกปาล์มน้ำมันกันมากว่า 8
ปีแล้ว ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกกว่า 12,000 ไร่ ผลผลิต 5,000-6,000
กก./ไร่/ปี
จากพื้นที่สวนส้มร้างในอดีตปัจจุบันกลายเป็นสวนปาล์มที่อุดมสมบูรณ์
ก่อนที่กรมวิชาการเกษตรจะทำการ “ปลดล็อก” ให้เป็นพื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันในที่สุด
แต่ก็ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ
เพราะก่อนหน้านี่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเรียกร้องกันอย่างยากลำบาก
ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านแหล่งเงินทุน
เกษตรกรต้องกัดฟันสู้อย่างยากลำบาก
เส้นทางของการทำสวนปาล์มของเกษตรกรทุ่งรังสิตจึงขรุขระและทุรกันดาน
...!!!
แต่วันนี้เส้นทางได้ถูกลาดยาง
สะดวกโยธิน กลายเป็น “มหากาพย์” แห่งการต่อสู้ที่โจทย์จัญและจดจำเป็นตำนานของทุ่งรังสิต
วันนี้เส้นทางความสำเร็จในการปลูกปาล์มของทุ่งรังสิตจึงมักถูกนำไปเป็น
“ต้นแบบ” ความสำเร็จของการปลูกปาล์มนอกเหนือภาคใต้เสมอ
และกลายเป็นต้นแบบอย่างทุกวันนี้
อีกทั้งพื้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็น
“บ่อน้ำมัน” บนดิน เป็นแหล่งปลูกพลังงานขนาดใหญ่ของประเทศ
เป็นประจำทุกปีที่ชมรมชาวสวนปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต
และหน่วยงานราชการ มีการจัดงาน “วันปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 กิจกรรมภายในงานนอกจากมีงานสัมมนาเหมือนทุกๆ
ปีแล้ว ยังมีประเด็นการพูดคุยเพื่อเตรียมตั้งสหกรณ์เพื่อขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันในพื้นที่
และเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับชาวสวนปาล์มแห่งทุ่งรังสิต
ตั้งแต่การผลิตและการตลาด
ความพิเศษของการจัดงานในปีนี้คือ การเชิญนายสมศักดิ์
เทพสุทิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
และการบรรยายพิเศษมุมมองเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน
ซึ่งพอจะรู้กันดีว่านายสมศักดิ์เองได้ลงทุนปลูกปาล์มใน จ.สุโขทัย
พืชพลังงานนำเนื้อหาของการบรรยายวันนั้นมานำเสนอ
ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ชาวสวนปาล์ม
และเป็นมุมมองที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย
นายสมศักดิ์กล่าวว่า
ตามที่ประธานกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิตได้กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้
ทำให้ทราบว่ามีนัยยะสำคัญๆ ที่ตรงกับแนวคิดของตนเอง นั้นคือ ความสามัคคี และ
แลกเปลี่ยนความรู้ เพิ่มพูนเทคนิคใหม่ๆ ในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ซึ่งเป็นนโยบายที่ดี
อีกทั้งการที่ชาวทุ่งรังสิตปรับเปลี่ยนจากส้มเขียวหวานมาเป็นปาล์มน้ำมัน
เป็นการเลือกและตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม
เพราะตัวเขาเองก็ได้ลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันไว้ที่
จ.สุโขทัยด้วยเช่นกัน ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว นักวิชาการและหน่วยงานราชการบอกว่าไม่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้
เพราะพื้นที่ปลูกปาล์มต้องมีปริมาณน้ำฝน 2,200 มิลิเมตร/ปี จึงจะสามารถปลูกให้เจริญเติบโตได้ดี
ขณะที่
จ.สุโขทัย มีปริมาณน้ำฝนเพียง 1,200 มิลลิเมตร/ปี เท่านั้น แต่บทพิสูจน์ที่หักล้างข้อมูลดังกล่าวคือ
นายสมศักดิ์ได้ปลูกปาล์มมาแล้วกว่า 7 ปี โดยเลือกปลูกพันธุ์
สุราษฎร์ธานี 1 และ 2 บนพื้นที่ 20 ไร่
ก่อนจะให้เหตุผลในการปลูกปาล์มว่า
“ผมได้ทดลองปลูกเอง ว่าสามารถปลูกได้หรือไม่
ปลูกแล้วจะให้ผลผลิตดีหรือไม่
และเกรงกลัวว่าจะมีใครแอบไปสนับสนุนชาวบ้านปลูกแล้วจะเป็นเหมือนมะม่วงหิมพานต์ที่ทางราชการต้องเอาเงินไปใช้หนี้แทนโดยผ่านทางกองทุนพื้นฟูเกษตรกร
สุดท้ายก็ล้มเหลว
แต่ไม่น่าเชื่อเลยครับ จ.สุโขทัยที่มีปริมาณน้ำฝนต่อปีน้อยมาก ในปี 5-6 ปรากฏว่าได้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่าภาคใต้ที่บอกว่าได้ 3 ตัน/ไร่/ปี แต่ในสวนของผมได้ 4.5 ตัน/ไร่/ปี”
นั้นเท่ากับเป็นผลการทดลองว่า
จ.สุโขทัย หรือ จังหวัดอื่นๆที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยน่าจะปลูกปาล์มได้
เพียงแต่ต้องอาศัยการให้น้ำทางดินชดเชย
เขาเชื่อมั่นว่าหากมีระบบการจัดการน้ำทางภาคพื้นดิน
จะช่วยทำให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นได้
เมื่อนายสมศักดิ์ปลูกปาล์มแล้วได้ผลก็เริ่มมีชาวบ้านปลูกตามกันมากขึ้น
“มีพี่น้องชาวภาคใต้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ จ.สุโขทัย
เขาก็ปลูกกัน ทั้งๆที่เขาไม่ได้ให้น้ำทางภาคพื้นดิน
แต่ปรากฏว่าเขาก็ได้ผลผลิตในระดับที่น่าพึงพอใจ”
อดีตรองนายกรัฐมนตรีเล่าต่อว่า
ในบริเวณ จ.สุโขทัย ในพื้นที่ที่ปลูกไม่มีการให้น้ำทางภาคพื้นดิน
แต่ปาล์มก็มีทะลายดก และมีแนวโน้มที่จะให้ผลผลิตสูง “ทำไมถึงให้ผลผลิตสูงได้ ชาวใต้ที่มาอยู่สุโขทัย
บอกว่ามันอาจจะเป็นเพราะแสงแดด ผมฟังดูแล้วมันก็เป็นเหตุผลที่น่าคิด
เขาบอกอีกว่าภาคใต้แม้ปริมาณน้ำฝนมากแต่แดดสู้ทางสุโขทัยและภาคอีสานไม่ได้
อันนี้เป็นข้อคิด อย่างเพิ่งเชื่อผมนะครับ แต่นี้เป็นคำพูดของเกษตรกรที่เขาปลูกมา
เพราะเขาเคยมีประสบการณ์มาทั้งทางใต้และที่สุโขทัย”
นายสมศักดิ์ยังได้พูดถึงประเด็น
การรวมตัวในรูปนิติบุคคล หรือสหกรณ์ เพราะจะเป็นการสร้างความสามัคคี
และความเข้มแข็งให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในทุ่งรังสิต
“ผมทราบว่าในเขตที่ปลูกส้มเก่าได้รับการสนับสนุนจากราชการให้ปลูกปาล์มน้ำมันได้
น่าเป็นเกียรติที่ได้รับการสนับสนุนตรงนี้
เพราะการเป็นพื้นที่ส่งเสริมก็จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ และ ธกส.
ในส่วนนี้ผมพยายามที่จะให้พี่น้องเกษตรกรหลายจังหวัดได้ร่วมลงชื่อแล้วส่งเอกสารในการสัมมนาครั้งนี้ให้ภาครัฐได้รับทราบว่าปาล์มน้ำมันนั้นปลูกและให้ผลผลิตได้ทุกภาคในประเทศไทย”
เขายังเสนอแนวคิดให้มีการสนับสนุนการปลูกปาล์ม
เช่นเดียวกันการปลูกยางพารา “ภาคกลางที่ทุ่งรังสิตตอนนี้
ภาครัฐยอมรับแล้ว 12,000 ไร่
เป็นตัวเลขที่ผมทราบมาปลูกแทนส้มและพืชชนิดอื่น รัฐบาลอาจจะให้ทุนอย่างยางพารา
เช่นในยางมีกองทุนปลูกหรือตัดแล้วปลูกใหม่ เพราะฉะนั้นปาล์มน่าจะมีเหมือนกัน
ถ้าเราเร่งรัฐบาลหรือร้องบอกกับรัฐบาล หรือกระทรวงต่างๆ
ที่เขาจะประกาศเป็นเขตสนับสนุนเรื่องของปาล์ม”
นายสมศักดิ์แสดงความคิดเห็นเรื่องที่องค์กรปกครองท้องถิ่น
อย่าง อบจ. ปทุมธานีจะมีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรปลูกปาล์มรายละ 5-10 ไร่ โดยการแจกกล้าปาล์มฟรี แต่ไม่สามารถทำได้
เพราะติดปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ยังมีพื้นที่ สปก“เรื่องนี้ผมคิดว่าต้องสร้างเครื่องมือป้องกันให้กับผู้ที่จะมาสนับสนุนเรา
สามารถซื้อต้นปาล์มแจกให้มีการปรับเปลี่ยนอาชีพ แต่รัฐต้องมีการประกาศเขตส่งเสริม
ทั้งนี้รัฐจะประกาศให้ได้เราต้องเสียงดังๆ
ให้รัฐบาลทราบว่าพื้นที่ปลูกของพี่น้องเกษตรกรปลูกได้ มีผลผลิตแล้ว และผลิตดีด้วย”
ดังนั้นรัฐบาลควรจะตั้งศูนย์เผยแพร่ความรู้
เช่น ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งรังสิต หรือใกล้เคียง
เพราะขณะนี่มีอยู่แต่ภาคใต้เท่านั้น เขาเสนอให้ดำเนินการตั้งศูนย์วิชาการเพาะพันธุ์ปาล์มแต่ละภาคของประเทศ
“วันนี้ประเทศเรามีความต้องการน้ำมัน
หรือ พลังงานทดแทนสูงมาก เรามีปาล์มปลูกอยู่เพียง 4.5
ล้านไร่ แต่ความต้องการที่คำนวณแบบคราวๆ สูงถึง 10 ล้านไร่
เพราะความต้องการในการอุปโภค บริโภคมันเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญต่อไปจะมีการประกาศไร้พรมแดนอาเซียน 10 ประเทศ (AEC) จะส่งผลให้มีสินค้าเข้ามาภายในประเทศเราอย่างไม่มีภาษี และเข้ามามากมาย
ตรงนี้คนก็หวั่นเกรงว่าเมื่อประกาศเขตอาเซียนแล้ว กลัวว่าน้ำมันปาล์ม หรือ ปาล์มน้ำมันจะราคาตก
“ผมต้องบอกว่าไม่ต้องกลัว
เราแค่คิดง่ายๆ ว่าเอาปาล์มไปผูกกับน้ำมันดีเซล
เพราะน้ำมันดีเซลจะต้องใช้กันทุกบ้าน
ในประเทศที่เขาพัฒนาแล้วในยุโรปบางประเทศเขาเอาน้ำมันปาล์ม หรือ
น้ำมันพืชไปใช้แทนน้ำมันดีเซล ถ้าทำตามกันทั้งยุโรปอย่างว่าแต่ 10 ล้านไร่ที่เราจะปลูกเลยครับ 20-30 ล้านไร่ก็ไม่พอขาย
“สมมติว่าน้ำมันดีเซลขายที่
จ.สุโขทัย 32 บาท ที่กรุงเทพอาจจะ 30
บาทกว่าเราเอาน้ำมันปาล์มผูกกับน้ำมันดีเซล
แล้วถ้าหากได้พันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง 6 ตัน/ไร่
และเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงอย่าง “พันธุ์คอมแพ็ค” เฉลี่ยเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ 25% การนำมาสกัดน้ำมันให้ได้ 1 ลิตรต้องใช้ปาล์มดิบ 4 กิโลกรัม ต้นทุนกิโลกรัมละ 5 บาท แล้วที่เหลือ 12 บาทไปไหน??
“ผมแนะนำต่อครับอีก
12 บาท สามารถเก็บเป็นทุนเพื่อสร้างโรงบีบน้ำมันไปเลย
ทำได้นะครับผมมองดูแล้ว โรงงานบีบน้ำมันปาล์มในทุน 400 ล้านบาท
ผลพลอยได้จากโรงงานคือกากปาล์มที่สกัดออกมาสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าต่อได้อีก
ถ้าเรารวบรวมพื้นที่ปลูกปาล์มได้ประมาณ 50,000 ไร่
ก็สามารถสร้างโรงบีบน้ำมันปาล์ม
“แต่การที่เราขายปาล์มกิโลกรัมละ
5 บาท เรามีโรงงานน้ำมันปาล์มของเราเองมันจะได้ 5.50 บาท เพราะอะไร ยกตัวอย่างน้ำมันโซล่าที่ขายในกรุงเทพฯ 30
บาทกว่าเพราะรวมค่าขนส่งเหมือนกันถ้าเรามีโรงงานน้ำมันปาล์มเองเราก็จะไม่เสียค่าขนส่งไปขายไกลๆ”
เขามองว่าปาล์มน้ำมันมีความแตกต่างจากพืชตัวอื่น
เพราะพืชสวนชนิดอื่นเมื่อปลูกมากๆ ผลผลิตจะออกพร้อมกันส่งผลให้ตลาดตัน ราคาตกต่ำ
ไม่มีสถานที่ขาย และไม่รู้จะขายให้ใคร สุดท้ายจำเป็นต้องปล่อยเน่าคาสวน
แต่ปาล์มน้ำมันแตกต่างจากพืชชนิดอื่น เพราะเมื่อปลูกมากๆ ราคาก็ยังคงสูง
มีตลาดรองรับ มีความต้องการอุปโภคบริโภคตลอด
“ผมสนับสนุนให้คิดไปถึงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มระดับชุมชน
ให้พี่น้องเกษตรกรทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ด้วยการลงหุ้นกัน
เบ็ดเสร็จหุ้นในส่วนของพี่น้องเกษตรกรอาจจะ 50% แล้วอีก 50% ดึงหุ้นส่วนที่มีความสามารถ อาจจะเป็นเจ้าของสายพันธุ์ปาล์มต่างๆ
หรือโรงงานเอกชนที่เขามีอยู่แล้วเข้ามาถือหุ้นร่วม แล้วเราจะได้โรงงานเป็นของเกษตรกร
เป็นของชุมชน
“ผมสอบถามผู้จัดการโรงงานไฟฟ้ามา
ทราบมาว่าเรายังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าอีกจำนวนมาก
ดังนั้นกากปาล์มที่เป็นของเหลือจากการบีบน้ำมันสามารถน้ำมาสร้างกระแสไฟฟ้าได้โดยการตั้งโรงงานไฟฟ้าขนาด
8 เมกกะวัตต์ ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าอีกด้วย”
นายสมศักดิ์มองว่าระบบการซื้อขายปาล์มน้ำมันน่าจะนำแนวทางของอ้อยมาเป็นต้นแบบ
“ผมอยากให้ท่านมองไปถึง อ้อย ซึ่งเป็นพืชที่มีกฎหมายคุ้มครองจากกระทรวงอุตสาหกรรม ผลผลิตของอ้อยขายเป็นเงินจนช่วงสุดท้าย แล้วส่งน้ำตาลไปขายต่างประเทศ ได้เงินมาเท่าไรเขาแบ่งให้เกษตรกร 70% แบ่งให้โรงงาน 30% แล้วมาหารเฉลี่ยว่าได้ตันละเท่าไร จากนั้นเขาก็นำมาคิดค่าความหวานที่มาตรฐาน 10 CCS. ต่อมาก็เพิ่มเป็น 11-12 CCS. จะต้องได้ราคาเท่าไร หรือการนำเอาโมลาส ไปผลิตเป็นเอทานอล ได้เงินเพิ่มเท่าไรก็จะนำมาแบ่งเป็น 70 : 30 สิ่งเหล่านนี้เป็นกฎหมายคุ้มครอง
“ผมอยากให้ท่านมองไปถึง อ้อย ซึ่งเป็นพืชที่มีกฎหมายคุ้มครองจากกระทรวงอุตสาหกรรม ผลผลิตของอ้อยขายเป็นเงินจนช่วงสุดท้าย แล้วส่งน้ำตาลไปขายต่างประเทศ ได้เงินมาเท่าไรเขาแบ่งให้เกษตรกร 70% แบ่งให้โรงงาน 30% แล้วมาหารเฉลี่ยว่าได้ตันละเท่าไร จากนั้นเขาก็นำมาคิดค่าความหวานที่มาตรฐาน 10 CCS. ต่อมาก็เพิ่มเป็น 11-12 CCS. จะต้องได้ราคาเท่าไร หรือการนำเอาโมลาส ไปผลิตเป็นเอทานอล ได้เงินเพิ่มเท่าไรก็จะนำมาแบ่งเป็น 70 : 30 สิ่งเหล่านนี้เป็นกฎหมายคุ้มครอง
“รัฐมนตรีเกษตรก็ควรมีศูนย์ดูแลในเรื่องของปาล์มน้ำมันในทุกภาคของประเทศไทย
ท่านรัฐมนตรีต้องเข้าใจว่านี้คือทางรอดของประเทศ
ไม่ใช้ให้แต่ปลูกข้าวแล้วก็นำเงินงบประมาณมารับจำนำ เงินที่จะนำไปทำถนน
เงินที่จะนำไปทำแหล่งน้ำ หรือพัฒนาเรื่องการศึกษาอื่นๆ
ต้องถูกดึงมาเกื้อหนุนกับโครงการนี้ เพราะจริงๆแล้วราคาขายข้าวไม่น่าจะเกิน 10,000
บาท แต่รัฐบาลต้องมาซื้อ 15,000 บาท เพราะได้ประกาศไปแล้ว
สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นไปแล้ว
“เราเปิดเสรีอาเซียนปี
2558
ถ้ามันสามารถทะลักออกมาอย่างไร้พรมแดนเหมือนกันรัฐแล้วรัฐบาลจะรับมือไหวไหม
ถ้ารับมือไม่ไหว แล้วถ้าราคาข้าวตก 10,000 บาทในวันข้างหน้าแล้วเกษตรกรจะอยู่อย่างไร
ทางออกทำไมต้องเอาเงินไปซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ
ทำไมไม่เอาเงินที่ไปลงทุนปลูกปาล์มที่อินโดนีเซียมาลงทุนในประเทศ
สิ่งต่างๆเหล่านี้เราจะไปว่าเขาก็ไม่ได้ เพราะว่าเรายังไม่เคยร้อง หรือ
บอกกล่าวให้เขาได้รู้ได้เห็นเลย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น