Translate

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมศักดิ์ คุณเงินเดินหน้านำทีม ปลูกปาล์มน้ำมันบนแผ่นดินอีสานตั้งเป้า 10 ปี 100,000 ไร่


สกู๊ปพิเศษปาล์มน้ำมันอีสาน

เรื่อง/ภาพ พยัคฆ์ทมิฬ

หลังที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสานได้ปลูกปาล์มน้ำมันมาตั้งแต่ราวๆ ปี 2548 โดยส่วนใหญ่จะนำพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากศูนย์วิจับสุราษฎร์ธานีทั้ง 1-6 ผลการทดลองปลูกพบว่าปาล์มน้ำมันลูกผสมสุ ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 (เดลี่ ลาเม่) สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองลงมาเป็นราษฎร์ธานี 1 (เดลี่ x คาลาบาร์)

ข้อมูลเบื้อต้นจากที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่รวบรวมได้สักยะยะทำให้ทราบว่าภาคอีสานมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องเปิดดำเนินการควบคู่กันมาจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิต ปุ๋ย-ยา ระบบน้ำ ลานเท และโรงงานหีบน้ำมันปาล์มดิบ ก่อนที่ทุกอย่างจะต้องมาสะดุดหลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ดิน คุณสมบัติของดินความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด ตามสภาพที่มีการเพาะปลูกพืช ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย เขตพื้นที่โครงการชลประทานประกอบการพิจารณากำหนดเขตเหมาะสม บทสรุปคือ อีสานไม่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อยืนยังข้อมูลการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ที่ผ่านมาพร้อมกับมุมมองจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่

ข้อมูลเบื้อต้นจากที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่รวบรวมได้สักยะยะทำให้ทราบว่าภาคอีสานมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องเปิดดำเนินการควบคู่กันมาจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิต ปุ๋ย-ยา ระบบน้ำ ลานเท และโรงงานหีบน้ำมันปาล์มดิบ ก่อนที่ทุกอย่างจะต้องมาสะดุดหลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ดิน คุณสมบัติของดินความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด ตามสภาพที่มีการเพาะปลูกพืช ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ เขตป่าไม้ตามกฎหมาย เขตพื้นที่โครงการชลประทานประกอบการพิจารณากำหนดเขตเหมาะสม บทสรุปคือ อีสานไม่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อยืนยังข้อมูลการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ที่ผ่านมาพร้อมกับมุมมองจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่

สมศักดิ์ คุณเงินเดินหน้านำทีม ปลูกปาล์มน้ำมันบนแผ่นดินอีสานตั้งเป้า 10 ปี 100,000 ไร่



“ไม่มีพืชชนิดไหนที่ปลูกเพียงครั้งเดียวแล้วให้ผลตอบแทนกับเกษตรกรได้นาน 25-30 ปี อย่าง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ถ้าเราเพิ่มพืชเศรษฐกิจของอีสานมาอีกมิติ ต้องมีการปรับเงื้อนไขเพื่อให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งสภาเกษตรกรภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัดได้มีการประชุม ระดมความคิดเห็นที่ตรงกันว่า ต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จากเดิมที่มีอยู่เพียง 7% เป็น 25% หากเราได้รับการอนุมัติและได้ระบบชลประทานลงในพื้นที่ได้ แล้วเราจะไม่ขออะไรอีกเลยด้านเกษตร” นี้คือวาทะกรรมของ สมศักดิ์ คุณเงิน  ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น 


เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2556 ประธานสภาเกษตรกรฯได้เปิดบ้านให้ผู้เขียนและ ทีมงานนิตยสารพืชพลังงาน ได้เข้าสัมภาษณ์พิเศษ ที่ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เกี่ยวกับประเด็นของเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ต่างก็รู้สึกว่ากำลัง “ถูกจำกัดสิทธิเกษตรกร” ทำให้เกษตรกรภาคอีสาน 103 ล้านไร่เสียโอกาส ไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกำหนดเขตเหมาะสม (Zoning) สำหรับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ซึ่งเครือข่ายเกษตรกรจังหวัดภาคอีสาน 20 จังหวัดได้มีการประชุม ซึ่งทุกคนต่างก็มีความเห็นตรงกันว่าประกาศฉบับดังกล่าว ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือเป็นการจำกัดสิทธิและโอกาสของเกษตรกรในภาคอีสาน

ต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานในภาคอีสานอย่างน้อย 25% ของพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยด้านภาพเกษตรกรรม

ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ระบุว่าข้อจำกัดที่เป็นจุดอ่อนที่เป็นภาพรวมของภาคอีสาน คือ “น้ำ”ในพื้นที่ภาคอีสาน 103 ล้านไร่ เป็นเขตชลประทานเพียง 100 ละ 7 หรือ 7% ของพื้นที่ทั้งหมด นั่นหมายความว่า 103 ล้านไร่ มีพื้นที่ที่เป็นชลประทานเพียง 7 ล้านไร่ นอกเหนือจากนั้นเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ และ พื้นที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งหาความแน่นอนแทบไม่ได้ ชีวิตของเกษตรกรภาคอีสานจึงฝากไว้กับสิ่งที่เรียกว่า “เทวดา” นั่นเอง

คุณสมศักดิ์ให้ข้อมูลต่อว่า ภาคกลางมีพื้นที่ชลประทานอย่างน้อย 52% ภาคเหนือประมาณ 19-20% และภาคใต้ประมาณ 20% แต่เกษตรกรภาคใต้จะได้ปริมาณน้ำฝนต่อปีที่มากพอจึงไม่มีปัญหาเรื่องของปริมาณน้ำหากเป็นไปได้ภาคอีสานขอเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้เท่ากับภาคกลาง คือ ประมาณ 52% ของพื้นที่ ก็จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้กับภาคอีกสานได้ถึง 50 ล้านไร่ ผลผลิตทางการเกษตรทุกส่วนจะออกมาอย่างมหาศาล แน่นอน ปาล์มน้ำมัน ก็จะเป็นพืชอีกหนึ่งทางเลือก ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้อย่างมั่นคงถาวร


คุณสมศักดิ์ย้ำว่า “ไม่มีพืชชนิดไหนที่ปลูกเพียงครั้งเดียวแล้วให้ผลตอบแทนกับเกษตรกรไปได้ 25-30 ปี ได้อย่าง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ถ้าเราเปลี่ยนมิติ พืชเศรษฐกิจของอีสานได้ ต้องมีการปรับเงื้อไขความสำเร็จ นั่นคือ ต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ซึ่งสภาเกษตรกรภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัดได้มีการประชุม ระดมความคิดเห็น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2556 ที่ผ่านมา ทุกคนสรุปตรงกันว่า อีสานขอระบบชลประทานเพิ่ม 25% ของพื้นที่ จากเดิมที่มีอยู่แล้วเพียง 7% ของพื้นที่ แล้วเราจะไม่ขออะไรอีกเลย นอกนั้นเราจะทำเอง

สรุปเสนอไปยังค้างการพิจารณาอยู่ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งกำลังจะประมวลเรื่องสรุปเสนอต่อไปยังนายยกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ และจากการศึกษาข้อมูล ทางด้านเทคนิค และ วิชาการ จากทางกรมชลประทาน สามารถที่จะนำน้ำจากลำน้ำโขง เข้ามาใช้ในพื้นที่อีสานได้ และยังสามารถที่จะสร้างอ่าง หรือ กักเก็บน้ำที่มีอยู่ 5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรได้อีก สามารถเพิ่มพื้นที่ภาคเกษตรได้มากกว่า 31 ล้านไร่ ต้องย้ำว่านี้เป็นข้อมูลจากกรมชลประทานนะครับ” 


ด้านงบประมาณ หรือการสร้างระบบชลประทานครั้งนี้ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าไม่น้อยกว่า 2.5 แสนล้านบาทในขณะเดียวกันกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ก็ให้ข้อมูลมาว่าในภาคอีสานมีแหล่งที่มีศักยภาพที่จะนำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรได้มากกว่า 11 ล้านไร่ ซึ่งจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพิ่มเติมได้มากกว่า 30 ล้านไร่

“มติในที่ประชุมที่มีคนมากกว่า 3,000 คนที่มาประชุมกัน ที่หอประชุมกาญจนาพิเศษเมื่อวันที่ 10 พ.ค.56 ที่ผ่านมา เราขอให้รัฐบาลเพิ่มพื้นที่ชลประทานสำหรับภาคอีสานจากที่มีอยู่แล้ว 7% ให้ได้อย่างน้อย 25% ซึ่งต้องเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ถามว่าทำไมต้องเร่งดำเนินการให้เร็วขนาดนี้ ก็เพราะชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรมันรอคอยไม่ได้ ยิ่งปล่อยให้เป็นปัญหาคาราคาชังไปก็ยิ่งเหมือนทำร้ายเกษตรกร


ปี 2558 จะเปิดประตูบ้านตอนรับเพื่อนบ้าน 10 ประเทศในอาเซียน แล้วเราจะมีอะไรไปแข่งขันกับเขาได้ เพราะความพร้อมเราไม่มี น้ำทำนาไม่มี พื้นที่ทำกินก็จำกัด มีพื้นที่ แต่ไม่มีน้ำเป็นปัจจัยในการเพราปลูก ปลูกข้าวก็สู้เวียดนามไม่ได้ ปลูกยางก็สู้ทางมาเล อินโดไม่ได้ ปาล์มน้ำมันก็จำกัดพื้นที่ให้แค่ภาคใต้ ภาคตะวันออก 3-4 ล้านไร่เท่านั้นเอง แล้วทำไมไม่คิดอยากจะขยายให้มันมากขึ้น กลายเป็นว่าผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรสู้นานาประเทศไม่ได้เลย

ผมยืนยันถ้าตราบใดยังไม่มีน้ำ เราไม่มีทางสู้เขาได้ แพ้ถาวร ถ้าไม่อยากแพ้ก็หาน้ำมาให้ภาคอีสาน เพราะพื้นที่เกษตร 40% มันอยู่ที่อีสาน ประชากรภาคเกษตรที่อีสานมีมาก หากเราช่วยให้เขาเดินหน้าประกอบอาชีพได้สะดวกขึ้น จะเป็นพลังมหาศาลเพียงใด ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกษตรของเมืองไทย เศรษฐกิจจะหมุนเวียนแค่ไหน รายได้ของประชากรและ ของประเทศจะสะพัดเพียงใดให้พิจารณาดูเอาเอง” คุณสมศักดิ์แสดงแนวคิดในมุมมองส่วนตัว บวกกับประสบการณ์และข้อมูลที่รวบรวมได้ในพื้นที่

ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างระบบชลประทาน หรือ น้ำเพื่อการเกษตร ว่าเป็นหัวสำคัญในการปลูกพืชพลังงาน อย่าง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และ พืชอื่นๆ หากการดำเนินการสำเร็จพื้นที่อีสานจะกลายเป็นแหล่งผลิตผลผลิตทางการเกษตร พืชพลังงาน และ พืชอาหาร ให้กับประเทศอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ภูมิประเทศต่างๆของประเทศไทยไม่ว่า ภาคใต้ ภาคกลาง หรือ ภาคเหนือ มักจะเจอวิกฤติธรรมชาติบ่อยๆ แต่เจอหมุนเวียนกันไปตามฤดูกาลและชัยภูมิที่ตั้ง ณ วันนี้ต้องมองกันถึงอนาคตแล้วว่าอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะอยู่กันอย่างไร ประกอบกับปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน ที่สำคัญอนาคตอันใกล้ หรือ อีก 2 ปี ข้างหน้ากำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย จึงควรเร่งเพิ่มศักยภาพให้กับภาคเกษตรกรรมให้มากขึ้น

“ยกตัวอย่างประเทศเวียดนาม ปลูกข้าว 2 ปี 7 รอบ เพราะเขาไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ เขามีน้ำ 80% ของพื้นที่ สำหรับบ้านเรามีพื้นที่ปลูกข้าวอยู่ประมาณ 40% ของพื้นที่เกษตร แต่พื้นที่ 40% ดังกล่าวอยู่ในภาวะขาดน้ำ จะเห็นได้ว่าจุดอ่อนอยู่ที่เรื่องของ “น้ำ” เพียงอย่างเดียว ฟันธงเลย ถ้าเรามีน้ำเพียงพอในการทำเกษตร ทุกอย่างจะหมุนเวียนไปตามกลไกของมันอย่างอัตโนมัติ

ศักยภาพการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน

                สมศักดิ์ คุณเงินได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเกษตรกรได้ประมาณ 1 ปีเศษ จากความสนใจส่วนตัวด้านเกษตรในพื้นที่เป็นพื้นฐาน มีความต้องการไขปัญหาของเกษตรกรชาวอีสานที่ต้องประสบปัญหาภาวะความแห้งแล้งมาตลอด อีกด้านหนึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้แทนราษฎรท้องถิ่นมาก่อนได้คลุกคลีตีวงกับพี่น้องเกษตรกรมากว่า5-6 สมัย จึงทำให้เขาทราบถึงแก่นแท้ของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งการขาดแคลน “น้ำเพื่อการเกษตร”จึงทำเกิดแนวคิดว่าหากสามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำ หรือ ปัญหาการเพิ่มศักยภาพการผลิตผลทางการเกษตรได้ก็จะช่วยให้ปัญหาทุเลาเบาบางลง หรือถ้ายังแก้ไม่ได้ก็จะมีการแสวงหาทางเลือกเพิ่มเติม ที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น มีความยั่งยืนในระยะยาว และมีเสถียรภาพมากขึ้น

“พี่น้องเกษตรกรอีสานส่วนใหญ่ปลูกพืชล้มลุก คือ ข้าว มันสำปะหลัง มีปัญหาล้มๆลุกๆเหมือนชื่อพืชและก็มีปัญหามาตลอด และเป็นปัญหาให้รัฐบาลต้องแก้ไขตลอดมาเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากเรามีโอกาส มีอาชีพที่มีความยั่งยืน ปลูกพืชเศรษฐกิจ 1 ครั้ง อยู่ได้นาน 20-30 ปี ดูแลครอบครัวได้อย่างเป็นระบบ เหมือนพี่น้องทางใต้ เหมือนพี่น้องทางภาคตะวันออก



หากทำได้อย่างนี้ก็จะเกิดอานิสงค์ไปสู่ระบบต่างๆของการประกอบอาชีพของเกษตรกรให้เขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากที่กล่าวมาเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผม ผมจึงสมัครเข้ามาเป็นประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เพื่อจะเข้ามาปฏิบัติภารกิจต่างๆเติมเต็มให้มีการขับเคลื่อนได้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน แต่ผมยืนยันว่าเป็นความตั้งใจที่สุจริต ตรงไปตรงมา ถ้าบ้านนี้เมืองนี้ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่องเดียวที่ผมอย่างเห็นอยู่ทุกวันนี้คือภาคอีสานได้รับการช่วยเหลือด้านชลประทานเพิ่มขึ้นแล้วเรื่องอื่นๆสามารถแก้ไขได้หมดเพราะแล้งซ้ำซาก ก่อให้เกิด ความจนซ้ำซาก”


ประธานสภาเกษตรฯ เผยข้อมูลให้ทราบว่าในภาคอีสานมีศักยภาพปลูกปาล์มน้ำมันได้ แต่ไม่ใช้ทุกตารางนิ้ว ภาคอีสานมีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ

สำหรับพื้นที่ที่ไม่ติดลำน้ำโขงหากแต่สามารถปลูกได้จะมีเป็นหย่อมๆ ส่วนใหญ่จะมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง และ ติดกับพื้นที่ชลประทาน เป็นต้น

“สภาพดินเราสามารถปรับปรุงได้ แรงงานเรามีปริมาณมากพอ ผมเชื่อว่าคนของบ้านเราพร้อมที่เสียสละ พร้อมที่จะทำงานหนัก พร้อมสู้ แต่จะให้เขาสู้ภายใต้ภาวะความแห้งแล้งอย่างนี้จะให้เขาสู้อย่างไร ตราบใดที่ไม่มีน้ำ พื้นที่อีสานก็ไม่มีทางได้รับการประกาศเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันอยู่แล้ว อ้างว่าเราไม่เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม เพราะแล้ง ทั้งๆที่เขามีศักดิ์ภาพปลูกได้ แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือเรื่องชลประทานเลย

ถามว่าปัญหาแล้งนี้มันแก้ไม่ได้หรือไง จะปล่อยให้เขาอยู่กับสภาพที่แล้งซ้ำซากและก็จนซ้ำซากอย่างนี้หรือ ที่นี้ไม่ใช้ส่วนหนึ่งของประเทศไทยหรือ ภาคอีสานมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 20-21 ล้านคน จาก 60 ล้านคนทั่วประเทศ มีเนื้อที่เป็น 1 ใน 3 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ถ้าคิดว่าภาคอีสานเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และ มีส่วนสำคัญ ทำไมต้องปล่อยให้เขาจนอยู่ตลอด ช่วยให้เขาได้มีทางเลือกหน่อยได้ไหม หรือ จะเก็บเขาเหล่านี้ไว้เป็นแรงงานราคาถูกให้กับประเทศเท่านั้น”

                ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่มีความต้องการน้ำค่อนข้างมาก น้ำจึงเป็นหัวใจสำคัญอันดับต้นๆ ในขณะที่สภาพดินที่มีความจำเป็นลองลงมา แต่ก็ยังคงสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ไม่ยาก ภาคอีสานประสบกับปัญหาเข้าขั้นวิกฤติเรื่องน้ำจนเรียกได้ว่า “แล้งซ้ำซาก”

                อย่างไรก็ตามแม้จะประสบปัญหาแล้งซ้ำซากมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำเลย อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ยังคงมีบางส่วนที่มีน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเกษตรกรในพื้นที่ประกอบอาชีพปลูกข้าว และพืชไร่ ซึ่งเป็นพืชล้มลุก บางปีก็ไม่ได้แม้แต่ทุนคืน


ในฐานะที่คุณสมศักดิ์ เป็นประธานสภาเกษตรกรฯ จึงเกิดแนวคิดว่าหากมีการนำพืชที่มีศักดิ์ในการสร้างรายได้มาทดลองปลูกน่าจะเป็นทางเลือกที่เป็นความหวังใหม่ให้กับเกษตรกรได้

“ปาล์มน้ำมัน”เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หากอีสานสามารถปลูก และให้ผลผลิตได้ จะเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้นหากจะปลูกปาล์มน้ำมันบนแผ่นดินอีสานจึงจำเป็นเตรียมความพร้อมองค์ประกอบสำคัญต่างๆ อย่าง


                1.จัดสรรพื้นที่ที่เป็นบริเวณที่ราบลุ่ม และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

                2.เป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินที่เหมาะสม หรือ ต้องได้รับการปรับปรุงสภาพให้เหมาะสม

                3.มีการจัดการบริหารสวนที่ถูกต้อง

                ปัจจุบันพื้นที่อีสานปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วในหลายพื้นที่ โดยทางกรมวิชาการเกษตรได้เก็บข้อมูลภาพรวมต่างๆทั้งภาคอีสานไว้ ทั้งนี้ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูกปาล์มน้ำมันทุกแปลงจะผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพแปลง เพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุนให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นในเขตภาคอีสานมีศูนย์วิจัยและพัฒนาของกรมวิชาการมีอยู่ทุกจังหวัด ที่ซุ้มวิจัยเรื่องนี้มากว่า 7 ปี และมีพันธุ์ที่คิดว่าเหมาะสม กับพื้นที่ภาคอีสานจนกระทั้ง มีองค์ความรู้ที่สามารถแนะนำเกษตรกรได้

“หากภาคอีสานได้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผลที่ตามคือสามารถช่วยลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศได้อย่างแน่นอน ถ้าหากว่านโยบาย ด้านพลังงานมีความชัดเจน เช่น ประกาศนโยบาย B7 B10 หรือ B100 เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะนำเอาน้ำมันจากผลผลิตทางการเกษตร หรือ จากปาล์มน้ำมัน ไปเป็นวัตถุดิบในด้านของพลังงานทดแทน ตามนโยบายให้ชัดเจน เมื่อนโยบายมีความชัดเจน และจริงจังแล้ว กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรโรงงานจะได้เดินตามได้อย่างมั่นใจและชัดเจนตามไปด้วยเราฝันว่าถ้าอีสานเราปลูกปาล์มน้ำมันได้ 3-5 ล้านไร่ เมื่อรวมกับพื้นที่ทั้งหมดทั้งประเทศ เราก็จะเป็นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่อีกรายหนึ่งของโลก”


                เกษตรกรในพื้นที่อีสานได้ปลูกปาล์มน้ำมันกันมานาน จนได้เก็บผลผลิตจำหน่ายกันแล้ว แม้กระทั้งโรงงานหีบปาล์มน้ำมันก็มีผู้ประกอบการทุ่มทุ่นสร้างและดำเนินการหีบมาได้สักระยะแล้ว


     ผลกระทบจากผลการประกาศเขตโซนนิ่ง (Zonning)

เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ใน จ.เลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บึงกาฬ ฯลฯ เริ่มมีการตั้งกลุ่มสหกรณ์พืชพลังงาน บางแห่งก็ใช้ชื่อว่า สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน แตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมอำนาจเจริญ ที่มีการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเตรียมส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อที่จะเตรียมดำเนินการสร้างโรงหีบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อรองรับผลผลิตในพื้นที่ แต่ต้องมาสะดุดเรื่องโซนนิ่งส่งผลให้แหล่งสนับสนุนด้านเงินทุนสะดุดไปด้วย ผู้ประกอบการเกี่ยวกับปุ๋ย ยา และกล้าพันธุ์ชะลอตัวไปด้วยเพราะเกิดความไม่มั่นใจที่จะดำเนินกิจการ

“เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทั่วอีสานได้สะท้อนปัญหาและผลกระทบไปยังสภาเกษตรกรจังหวัดให้รับทราบ เพราะในมุมมองของเกษตรเขามองว่าไปกลั่นแกล้งเขาทำไม เพราะเขาปลูกกันได้ มีผลผลิตออกจำหน่าย ส่วนคนที่จะปลูกใหม่ไปทำเรื่องขอกู้ ธกส.ก็ไม่ได้ เพราะ ธกส.ก็อ้างว่าไม่ใช้เขตส่งเสริม กลายเป็นว่า ผีซ้ำด้ามพลอย แล้วจะให้เกษตรกรเขาเดินไปอย่างไร

ลองมองดูต่างประเทศ ทำไมประเทศอื่นๆเขาถึงช่วยเกษตรกรของเขา อย่างประเทศมาเลเซีย เท่าที่ทราบมาเขาให้เกษตรกรตัดยางทิ้งแล้วปลูกปาล์มน้ำมันแทนด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของประเทศเราทำไมไปส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียกว่า2 ล้านไร่ ถ้าไปส่งเสริมที่โน้นได้ ก็มาส่งเสริมที่อีสานหน่อย 

ผมอยากเห็นความจริงใจของผู้ที่ควบคุมทิศทางด้านพลังงานของประเทศเรา จะกระทรวงพลังงานก็ดี หรือ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานก็ดี หากได้มานั่งพูดคุยกันผมเชื่อว่าอีสานจะสามารถสร้างวัตถุดิบด้านพลังงานให้กับประเทศได้มหาศาลในระยะยาว”

สำหรับความเคลื่อนไหวของสภาเกษตรกรจังหวัดแต่หละจังหวัดที่เกี่ยวข้องหลังจากมีประกาศพื้นที่โซนนิ่งก็ได้มีการประชุมหารือพร้อมทั้งเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นวาระไปยังสภาพเกษตรกรแห่งชาติเพื่อให้ได้พิจารณาและดำเนินการต่อ ซึ่งทางสภาเกษตรกรแห่งชาติได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และเสนอเรื่องต่อไปยังรัฐบาลให้ทบทวนเรื่องโซนนิ่งใหม่อีกครั้งไม่ว่าจะเป็น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพืชอื่นๆที่อยู่ในประกาศ ให้เกิดความสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเรื่องนี้คุณสมศักดิ์ให้ข้อสังเกตุว่า

“ตอนนี้เรื่องอยู่ที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรพิจารณา แต่ก็ยังนิ่งอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ในส่วนตัวผมเชื่อว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร หรือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังนำเสนอนโยบายที่หลงทิศหลงทาง ทำร้ายเกษตรกร โดย ความปรารถนาดี ทำให้หัวหน้ารัฐบาลเข้าใจว่าที่นำเสนอขึ้นไปนั้นถูกต้อง เหมาะสม แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ ทำร้ายทั้งความรู้สึก ทำลายศักยภาพ และ ทำลายโอกาส ปิดกั้นโอกาสของเกษตรกรในพื้นที่

เพราฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเห็นว่าต้องมีการทบทวนในไม่ช้าก็เร็ว มิเช่นนั้นเมื่อเกษตรกรทุกคนเข้าใจว่าถูกกีดกันในการปลูกพื้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น ปาล์มน้ำมัน หรือ แม้แต่ยางพารา ถ้าอย่างนั่นขอตั้งคำถามว่า แล้วจะให้เขาปลูกอะไร เป็นพืชทางเลือก แล้วยิ่งล้าสุดเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีนโยบายออกมาว่าให้เปลี่ยนที่นาดอนมาปลูกอ้อยโรงงาน นั่นคือคำตอบใช้ไหมว่า ที่สงวนไม่ให้เราปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชพลังงาน พืชเศรษฐกิจ เพราะรักษาพืชที่ไว้ปลูกอ้อยโรงงาน อย่างนั้นหรือ รัฐบาลต้องทำความเข้าใจให้กับประชาชน”


ผลในเชิงบวกหากทำให้ภาคอีสานสามารถปาล์มน้ำมันได้

                คุณสมศักดิ์ให้ข้อมูลต่อว่า ไม่นานมานี้มีนโยบายสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อต้องการให้เกษตรกรไทยเป็นมืออาชีพและพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จนสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรที่จะถูกเรียกว่าเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์จะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติหลัก 2 ประการ คือ มี รายได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ครัวเรือน/ปี และต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน 6 ประการ

ปัจจุบันรายได้ด้านเกษตรกรรมของเกษตรกรเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1.4 แสนบาท/ครัวเรือน/ปี เกษตรกรภาคกลางมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 แสนบาท/ครัวเรือน/ปี ในขณะที่เกษตรกรในภาคอีสานมีรายได้เฉลี่ยอยู่เพียง 7 หมื่นบาท/ครัวเรือน/ปีเท่านั้นเอง

“เมาหรือเปล่าในเมื่อรายได้ของเกษตรกรในภาคอีสาน ณ ตอนนี้อยู่แค่ 7 หมื่นบาท/ครัวเรือน/ปีเท่านั้นเอง ในขณะที่เกษตรกรภาคกลางมีรายได้โดยเฉลี่ย 1.8 แสนบาท/ครัวเรือน/ปี ทั่วเฉลี่ยประเทศ 1.4 แสนบาท/คน/ปี มันเป็นความจริงที่ขมขื่น จริงๆเรามีศักยภาพแต่เราต้องปรับปรุง เราถึงจะสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศต่างๆในอาเซียนได้ เราแข่งกับเขาด้วยเหตุหรือปัจจัยอะไรได้บ้าง ภาคอีสานมีความมั่นคงด้านโครงสร้าง หากแต่ ภัยแล้ง คือ ปัญหาของเรา ส่วนปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม หรือพายุมรสุมต่างๆไม่มีเลย จะมีแต่น้อยมาก เราได้เปรียบในเชิงพื้นที่ ยุทธภูมิที่ตั้ง ด้วยความเหมาะสมด้านพื้นที่แล้ว เราเติมความสำเร็จให้เกษตรกรเราจะไม่ได้เชี่ยวหรือ”

เหมือนเป็นความ “น้อยเนื้อต่ำใจ” จากตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่อีสานที่มักจะ “ถูกริดรอนสิทธิโอกาส” หลายๆด้าน แต่ด้วยเลือดนักสู้ทำให้ คุณสมศักดิ์ คุณเงิน นำทีมเดินหน้าต่อเมินประกาศพื้นที่โซนนิ่ง แม้ว่าความหวังที่เสนอเข้าไปยังภาครัฐให้ช่วยเหลือเรื่องน้ำนั้นจะน้อยนิดนักก็ตาม

จากปณิธานที่ต้องการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่ให้ดีขึ้นเขายังมีโครงการรณรงค์ให้มีการ “ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ทศวรรษ 1 แสนไร่” เริ่มจากจังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ที่มีทุนและที่ใจกล้าที่จะบุกเบิกด้านสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นเองก็ยังไม่หมดความอดทน พร้อมเดินหน้าตั้งเป้าส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นปลูกให้ได้ 2 หมื่นไร่/ปี สมทบไปเรื่อยจนครบ 10 ปี ก็จะครบตามเป้าหมาย 1 แสนไร่ จากนั้นจะเริ่มดำเนินการระดมทุนตั้งโรงงาน 1 โรงงานในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น พื้นที่เป้าหมายที่เริ่มสนับสนุนปลูกจะเป็นบริเวณด้านฝั่งตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ประกอบไปด้วย อ.ภูเวียง ชุมแพ ภูผาม่าน สีชมพู ติดไปทาง จ.เลย จ.หนองบัวลำภู และ ติดพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพราะอยู่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์

“จังหวัดขอนแก่มีพื้นที่ปลูกน้อยมาก ผมกำลังรณรงค์ที่จะส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ทศวรรษ 1 แสนไร่ ขอเพียงเท่านี้ให้มันเกิดขึ้นให้ได้ แม้ว่ามาสะดุดเรื่องของโซนิ่งและแม้ว่าจะทำให้ผมดำเนินการไม่ค่อยออก เพราะจะส่งเสริมไปอย่างไร สินเชื่อก็ไม่มี นโยบายจากรัฐก็ห้าม เพราะฉะนั้นจึงเหลือแต่คนที่ใจกล้า กล้าสู้ กล้าที่จะบุกเบิก แต่ผมไม่ยอมแพ้หรอกยังรณรงค์ให้มีการปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ทศวรรษ 1 แสนไร่ โดยแบ่งทยอยปลูกไปปีละ 2 หมื่นไร่ แล้วเรามีแผนจะสร้างโรงหีบ ส่วนตัวได้ทดลองปลูกไว้ 40 ไร่ และปีหน้าก็จะปลูกเพิ่มอีกเพื่อทดสอบศักดิ์ภาพพื้นที่ หากเราคิดเพียงครึ่งของผลผลิตนำมาเป็นพลังงาน ใช้เฉพาะเครื่องจักรกลหนักทางภาคเกษตร สิ่งเหล่านี้ก็สามารถดูซับพลังงานที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตรได้เยอะแล้ว เป็นการสงวนเงินตราไว้หมุนเวียนใช้ภายในประเทศมากยิ่งขึ้นด้วย”

อ้างอิงข้อมูลจากงาน “เปิดบ้านงานวิจัยปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ผลการสำรวจพื้นที่พบว่าปาล์มน้ำมันสามารถปลูกได้แน่นอนในภาคอีสาน แต่ปลูกได้ในพื้นที่ที่เหมาะสมซึ่งได้มีการสำรวจแล้วว่ามีพื้นที่ใดบ้าง ทั้งนี้เกษตรกรคนใดที่มีความประสงค์จะปลูกจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเหมาะสมพื้นที่เป็นรายแปลงก่อน เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของแหล่งน้ำ สภาพดิน สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และ การบริหารจัดการที่ถูกต้อง



ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรจะได้รับการตรวจวิเคราะห์แปลงและได้รับการอบรมจนเกิดความรู้ความเข้าใจก่อนลงมือปลูกเนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชชนิดใหม่สำหรับอีสาน แต่เกษตรกรเองก็มีความใฝ่รู้ และตื่นตัวในการศึกษาข้อมูลต่างๆ เพราะเขามองเห็นว่าผลตอบแทนที่ได้นั้นคุ้มค่าและยั่งยืนเพียงใด แม้ว่าจะมีบ้างที่จะตกเป็นเหยื่อพ่อค้า แม่ค้าหัวใสเก็บลูกใต้โคนมาเพาะแล้วนำมาขายในภาคอีสาน

“ณ วันนี้ถ้าหากว่าเราไม่ได้ดูประเทศข้างเคียงว่าเขาดำเนินไปอย่างไรก็จะเสียโอกาส ในขณะที่รัฐบาลประกาศนโยบายบอกว่าภายใน 10 ปีนี้จะต้องใช้พลังงานทดแทน 25% แทนพลังงานที่ได้มาจากฟอสซิล ถามว่านับจากวันประกาศนโยบายมาจนถึงปีนี้ ซึ่ง 2 ปีมาแล้ว ได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง ได้เพิ่มอีกกี่เปอร์เซ็นต์ ก็ยังไม่เห็น แล้วยังมาประกาศบอกว่าอีสานไม่เหมาะที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน เพราะเป็นพื้นที่แล้งน้ำ ถามว่าเมื่อประกาศมาอย่างนี้ คนที่เขาปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วอยู่ทั่วภาคอีสาน ณ ปัจจุบัน 4-5 แสนไร่ จะให้เขารู้สึกอย่างไร เขาจะรู้สึกว่ารัฐบาลรังแกเขาไหมผมฝากให้คิดกันเท่านี้ครับ” สมศักดิ์ คุณเงิน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นฝากทิ้งท้าย

ข้อมูลจากพืชพลังงาน ฉบับที่ 64

 

2 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ อยากทราบว่าการให้ปุ๋ยกับต้นปาล์ม ควรบำรุงด้วยสูตรไหนเป็นหลักครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ