Translate

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาจารย์ทองเปิดสูตร ปลูกมันกว่า 10 ตัน/ไร่


เรื่อง/ภาพ : พยัคฆ์ทมิฬ

ลักษณะการแตกหัวรอบทิศทาง
ภาวะตึงตัวของเอทานอลจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลมากขึ้นจากปริมาณกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามผลผลิตอ้อยที่มีการปลูกมากขึ้น อีกทั้งจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบเพิ่มเข้ามาในตลาด ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดปัญหาอุปทานเอทานอลตึงตัวจากปริมาณกากน้ำตาลไม่เพียงพอลงได้            

คนงานกำลังฟันต้นและเตรียมขุน

จากผลการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องของ “นิตยสารพืชพลังงาน” ทำให้ทราบว่าผลผลิตมันสำปะหลังมีการหดตัวลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัญหาเพลี้ยแป้งเมื่อปลายปี 51 มาจนถึงต้นปี 53 แต่หลังจากนั้นมาตั้งแต่ปี 54-55 สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วยกระบวนการแก้ไขจากหน่วยงานต่างๆ และเกษตรกรเองที่หันมาให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการเตรียมท่อนพันธุ์ และการจัดการ แต่ปัญหาสำหรับเกษตรกรที่ยังคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อย่าอุทกภัย หรือ ภัยแล้ง เป็นต้น              
ลำต้นสมบูรณ์และสูง



             ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีเกษตรกรหัวก้าวหน้าหลายรายที่สามารถฝ่าวิกฤตกาลดังกล่าวมาได้ ทั้งนี้ทางนิตยสารขอแนะนำให้รู้จักกับปราชญ์คนเก่งแห่ง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา อ.ทอง ธรรมดา (นายวีรยุทธ ศรีเลอจันทร์) เจ้าของ สวนเพชรพิมาย พวงมาด้วยตำแหน่งหมอดิน ศึกษาจบคณะรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแก้วมังกร และไม้ผลชนิดต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ศึกษากระบวนการจัดการ และเทคนิคต่างๆในการทำเกษตร และได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา จนเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง ผลงานในแต่ละชิ้น
               
อาจารย์ทอง ธรรมดา บุคลที่ไม่ธรรมดาปล่อยผลงานออกสู่สายตาประชาชนไม่ว่าจะเป็นสื่อนิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้แต่ทางทีวี ผลงานชิ้นโบแดงล่าสุดคือการทำสวนมะนาวไร้เมล็ด หลังจากได้เผยแพร่ออกไปเจ้าตัวได้กระซิบบอกกับผู้เขียนว่าโทรศัพท์แทบไหม้ เพราะมีเกษตรกรจากหลายที่โทรเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย นอกจากนั้นยังมีคณะดูงานมาดูผลงานถึงสวน แต่ที่ผู้เขียนจะนำมาเสนอต่อไปนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่เรียกได้ว่ากำลังเป็นเรื่องที่ชาวไร่มันสำประหลังจะต้องให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน เนื่องจาก อ.ทอง ได้เผยเทคนิคการทำไร่มันสำปะหลังอย่างไร ให้ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ตันต่อไรซึ่งเจ้าของสวนเพชรพิมายได้ทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว

อ.ทอง ธรรมดา กับผลงานชิ้นโบแดง



เทคนิคการปลูกมันสำปะหลังสูตร อ.ทอง ธรรมดา

อ.ทองให้ข้อมูลว่าการทำเกษตรไม่ว่าจะเป็นพืชตัวใดก็ตามเจ้าของแปลงจะต้องทราบรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่เรื่องดิน น้ำ อากาศ และ ต้นพืช ทั้งนี้ในกรณีการทำไร่มันสำปะหลังในกระบวนการที่เจ้าตัวนำมาใช้มีดังนี้

1.การเตรียมดิน มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ชอบดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสูงเพียงการขยายหัวและดูดซับธาตุอาหาร ต้องการธาตุ P2 และ K2 ค่อนข้างสูงเพื่อเน้นการแตกรากและเกิดหัว ถ้าได้รับ N2 มากต้นจะงามไม่มีหัว (ขึ้นต้น) การเตรียมดินจึงต้องพึงระวัง อย่าใส่แต่ขี้วัวเพราะจะทำให้ N2 สูง ควรเปลี่ยนมาใส่ขี้หมู หรือขี้ไก่รวม
เปรียบเทียบการตัดก่อนปลูก ตัดแบบเฉียงจะให้ผลผลิตดีกว่า

2.การคัดเลือกต้นพันธุ์ ต้นที่จะนำมาทำพันธุ์ต้องเลือกต้นที่สมบูรณ์ และลำต้นใหญ่ ไม่ควรเลือกต้นขนาดที่เล็กจนเกินไปเพราะจะทำให้มีการสะสมอาหารที่ต้นน้อยเมื่อเจอกับสภาวะฝนทิ้งช่วง หรือช่วงฤดูแล้งอาจจะทำให้ต้นตายได้ ต้นที่จะนำมาทำเป็นท่อนพันธุ์ควรมีอายุ 10-12 เดือน และไม่ควรตันไว้นานเกิน 15-20 วัน เพราะจะทำให้สูญเสียการงอกของตา และมีผลต่อการแตกราก ทำให้รากแตกได้น้อย การเจริญเติมโตช้า จำนวนหัวที่ได้ก็จะลดน้อยลงด้วย

3.ฤดูปลูก ควรปลูกช่วงที่ฝนเริ่มตกคือช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม อย่างรีบร้อนปลูก เพราะจะเกิดความเสี่ยงสูงเช่น ฝนหลงตกมาเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ และเมื่อเรารีบปลูกปรากฏว่าฝนทิ้งช่วงทำให้ดินแห้ง เซลล์ตรงบริเวณที่จะออกรากแห้ง ส่งผลให้การแตกรากเป็นไปได้ยาก และควรจุ่มน้ำยาเร่งรากก่อนปลูกเพื่อรากจะได้ออกรอบ หรืออาจจะใส่ยาป้องกันเพลี้ยแป้งเข้าไปพร้อมด้วยก็ได้

ขุดโดยใช้เสียมงัดตรงเหง้า

4.การดูแลการจัดการ ช่วง 4 เดือนแรกเป็นช่วงสำคัญมาก ต้องอย่าให้เกิดการชะงัก ทั้งเรื่องฝนและวัชพืช การกำจัดวัชพืชจึงมีความจำเป็น อย่าให้หญ้าขึ้นแข่งจะทำให้การกำจัดเป็นไปได้อยาก อาจจะไปโดนต้นมันฯทำให้ได้ระบกบารกระทบกระเทือน หรือโดนรากจนขาด ทำให้ต้นเหี่ยว และอาจตายในที่สุด การดูแลช่วงการเจริญเติบโต ถ้าต้นมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ใบใหญ่ แสดงว่า ดินมี N2 สูงต้องใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลาง และตัวท้ายสูง เช่น 8-24-24 ลงไปมิฉะนั้นเปอร์เซ็นการได้ผลผลิตหัวต่อต้นจะน้อย หรือถ้าต้นจะแคระแกร็น ต้นเหลือง ใบเล็ก ควรใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ลงไปเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ถ้าการเจริญเติบโตดีหลัง 4 เดือนใบมันจะคลุมแปลงทำให้วัชพืชขึ้นแข่งไม่ไหว จึงไม่ต้องกำจัดวัชพืชอีก “ในการทำไร่มันสำปะหลังให้สำเร็จได้ผลดี จะต้องพิถีพิถัน อย่าสักแต่ปลูก แล้วบนบานขอให้ได้เยอะๆมันเป็นไปไม่ได้ตรับ” เจ้าของสวนเพชรพิมายกล่าว

หัวมันที่ขุดขึ้นมามีลักษณะที่ใหญ่และสมบูรณ์มาก
อ.ทอง กล่าวต่อว่า หลังที่ได้มีการเตรียมการ หรือได้ทำตามแบบแผนที่ว่างไว้ข้างต้นแล้วก็นำท่อนพันธุ์ลงปลูกในแปลงแล้ว หลังจากนั้นก็ปล่อยไปตามปรกติเหมือนกับที่ทำกันทั่วๆไป แต่ผลผลิตที่ได้กลับได้มากกว่านั้น เจ้าตัวได้เฉลยว่า หากมีการเตรียมการที่ดีตั้งแต่ต้นแล้ว ทุกอย่างก็ออกมาดี สำหรับเรื่องของโรคระบาดที่ชาวไร่มันขยาดกันหนักหนานั้นอาจารย์ ก็บอกว่าทางสวนจะนำน้ำใบยาสูบผสมกับกับน้ำผงชักฟอก หรอน้ำยาล้างจานและน้ำ พ่นป้องกันไว้เท่านั้น ก็ไม่ปรากฏเห็นเพลี้ยแป้งในแปลงเลย

สำหรับปุ๋ยที่ใช้ จะใส่เพียงครั้งเดียวคือตอนที่ลงปลูกใหม่ เป็นปุ๋ยหมักที่ได้ทำขึ้นมาเอง ประกอบไปด้วย กากอ้อย กากมัน ขี้เถ้า ขี้วัว แกลบ ขี้เลื่อย นำทั้งหมดมาหมักโดยใช้หัวเชื้อ พ.ด.1 เป็นระยะเวลา 2 เดือน จนหายร้อนก่อนนำไปใส่ จะผสมปูนโดโลไมท์ และหินร๊อคฟอสเฟตร่วมลงไปในปุ๋ยหมักและนำจุลินทรีย์คีโรเมี่ยม เพื่อป้องกันโรครากเน่า วัตถุดิบหาได้ง่ายในพื้นที่ ราคาถูก และสามารถลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยได้มาก ผลผลิตก็ได้ผลดีด้วย

นิตยสารพืชพลังงาน ฉบับที่ 57 ประจำเดือนธันวาคม 2555


กลุ่มเกษตรกรรายย่อยไทยที่ RSPO ให้การรับรองเป็นรายแรกของโลก ขายสิทธิให้จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน!!


เก็บมาฝาก

                จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพชั้นนำของโลกคว้าสิทธิน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ภายใต้ระบบการจองสิทธิและการอ้างสิทธิจาก กลุ่มเกษตรกรรายย่อยอิสระไทย 4 กลุ่มที่ผ่านการรับรองจาก RSPO เป็นรายแรกของโลก การซื้อสิทธิน้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐาน RSPO ในครั้งนี้ถือได้ว่าบริษัทฯ ให้การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนโดยตรง

(จากซ้ายไปขวา) มร. บ็อบ นอร์แมน ผู้จัดการทั่วไปของ GreenPalm, มร. ไซม่อน เพอร์รี่ ผู้จัดการฝ่ายจัดหาวัตถุดิบ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน,  มร. อัลวี ฮาฟิซ กรรมการผู้จัดการ BSI Group ภูมิภาคอาเซียน, มร. ดาเนียล มาย ผู้อำนวยการโครงการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), มร. โฟลเคอร์ สติมเลอร์ อุปทูต สถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย
กลุ่มเกษตรกรรายย่อยทั้ง 4 กลุ่มนี้เป็นเกษตรกรรายย่อยนำร่องของโครงการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืนที่ทาง RSPO เพิ่งจะให้การรับรองในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โครงการระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552- มิถุนายน 2555) นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลังจากเข้าร่วมโครงการการพัฒนาระบบการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรรายย่อยมีส่วนทำให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน สามารถเพิ่มรายได้ราว 40 ล้านบาทต่อปี และต้นทุนการผลิตก็ลดลงอย่างน่าพอใจ นอกจากนั้นยังสามารถจำหน่ายน้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐาน RSPO ได้ราคาดีพิเศษอีกด้วย โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่ร่วมโครงการซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรเป็นอย่างดีได้รับผลตอบแทนทางการเงินจากอัตราการสกัดนำมันปาล์มที่สูงขึ้น พบว่าโอกาสขยายผลของโครงการในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยมีศักยภาพสูงมาก เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับการรับรองแล้วมีเพียง 412 ราย พื้นที่เพาะปลูกรวม 17,155 ไร่และผลิตทะลายปาล์มสดได้เพียง 52,000 ตัน/ปี


มร. ดาเรล เวบเบอร์ เลขาธิการ RSPO ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กว่าร้อยละ 70 ของน้ำมันปาล์มในประเทศไทยผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยอิสระ หากไม่มีการรับรองมาตรฐาน ก็ยากที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้นับวันผู้ผลิตที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบและต้องการน้ำมันปาล์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจะมีมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะผู้บริโภคต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามหลักการและเกณฑ์กำหนดของ RSPO ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่มาก เกษตรกรรายย่อยต้องได้รับความช่วยเหลือในการขอรับรองมาตรฐาน ดังนั้นเราจึงยินดีมากที่ได้ผู้ร่วมงานจากภาคการผลิตเช่นจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมาให้การสนับสนุนการรับรองมาตรฐานของเกษตรกรรายย่อย

มร.ดาเนียล มาย ผู้อำนวยการโครงการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืนของ GIZกล่าวว่า “GIZ ขอแสดงความยินดีต่อทั้งเกษตรกรรายย่อยของไทยและจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันในโอกาสสำคัญที่มีการซื้อขายน้ำมันปาล์มที่ผลิตโดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอิสระที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเป็นครั้งแรกของโลกในวันนี้ GIZ เชื่อมั่นว่าทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสัญญาที่ยังประโยชน์ซึ่งกันและกัน GIZ ภูมิใจมากที่ได้ช่วยเหลือทุกฝ่ายและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเกษตรกรจะคงการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเอาไว้ได้ประโยชน์จากการเกษตรที่ดีและเหมาะสมและจากการรับรองมาตรฐานด้วย

มร. อัลวี ฮาฟิซ กรรมการผู้จัดการ BSI Group ภูมิภาคอาเซียน (องค์กรรับรองภายนอกที่ตรวจรับรองเกษตรกรรายย่อย) กล่าวว่า การปฏิบัติตามหลักการและเกณฑ์กำหนดและการรับรองมาตรฐาน RSPO จะช่วยสร้างความมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่าการปลูกและกระบวนการแปรรูปน้ำมันปาล์มนั้นมีความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ การรับรองกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอิสระกลุ่มแรกนับว่าเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของประเทศไทย เราตระหนักดีถึงปัญหาเฉพาะตัวในรูปแบบต่างๆ ที่เกษตรกรรายย่อยจะต้องเผชิญหากปฏิบัติตามหลักการและเกณฑ์กำหนด แต่พวกเขาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพวกเขาทำได้จริง ด้วยเหตุนี้ BSI จึงขอแสดงความยินดีและชมเชยในความอุตสาหะและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อยกลุ่มแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO

มร. บ็อบ นอร์แมน ผู้จัดการทั่วไปของ GreenPalm ซึ่งเป็นตัวกลางซื้อขายสิทธิกล่าวเสริมว่า การที่ GreenPalm ได้เข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอิสระที่ได้รับการรับรองเป็นรายแรกและแบรนด์ใหญ่ระดับโลกอย่างจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ทำให้จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันสามารถสนับสนุนและยอมรับความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรได้นี้นับเป็นเรื่องที่ดีมาก ผมเชื่อว่านี่จะเป็นโครงการแรกในอีกหลายโครงการที่จะสามารถใช้ช่องทางGreenPalm เป็นเครื่องมือสนับสนุนได้

*ระบบการจองสิทธิและการอ้างสิทธิ

สวนปาล์มที่ได้มาตรฐานสามารถลงทะเบียนปริมาณน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้ตามวิธีที่กำหนด จากนั้นจะมีการออกเครดิตน้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐานตามปริมาณที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้ ผู้ใช้น้ำมันปาล์มสามารถซื้อเครดิตน้ำมันปาล์มที่ได้รับมาตรฐานเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสถานภาพการรับรองให้แก่ผู้ผลิตและสนับสนุนทุนดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ของ RSPO


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่

ศิริพร ตรีพรไพรัช ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ GIZ 
โทรศัพท์
: 02 661 9273 ต่อ 33 หรือ 087 022 7526 อีเมล์: siriporn.treepornpairat@giz.de

นิตยสารพืชพลังงาน ฉบับที่ 57 ประจำเดือนธันวาคม 2555

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จาก "ลำไผ่" สู่ "ถ่านอัดแท่ง" ตลาดโตตลอด!!


เรื่อง/ภาพ : แทนไท ออนทัวร์

เมื่อในอดีต “ถ่าน” ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญในการหุงต้มต่างๆ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้วิถีการดำรงชีวิตปรับเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมมากขึ้นและทำให้ถ่านเริ่มจางหายไปจากชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบันพลังงานที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเริ่มหมดไป ระบบเศรษฐกิจผันผวน ราคาสินค้าต่างๆแพงขึ้น ประกอบกับสภาวะอาการณ์ที่แปรปรวนที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ อย่างมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทยที่ผ่านมา

ถ่าน จึงได้รับความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง ที่ได้ถูกนำมาเป็นวัตถุหลักในการให้พลังงานเชื้อเพลิงในการหุงหาอาหารในยามภาวะคับขันเช่นนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว “ถ่าน” ได้รับความสนใจอยู่อย่างต่อเนื่องในกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ มีผู้แปรรูปถ่านมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากมายหลากหลายชนิด สร้างมูลค้ามหาศาล

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ผู้เขียนได้เดินทางไปยัง วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจัน จ.สุพรรณบุรี สถานที่นัดพบของเหล่า “กูรู” ด้านพลังงานภาคประชาชน และผู้อยู่เบื้องหลังการความสำเร็จในการส่งเสริมอาชีพด้านพลังงานในชุมชนอย่าง หลวงตาทวี วีรพโล พระนักพัฒนาแห่งวัดพยัคฆารา  พร้อมทั้งนักลงทุนรายใหม่ที่กระโดนเข้าสู่วงการเกษตร โดยการปลูกไผ่ ทำถ่านขาย

“ทองคำดำ” หรือ “ถ่าน” ที่ใครหลายๆคนมองข้าม และหลงลืมไปนั้น กลับสร้างเงินมหาศาลให้ผู้ที่มองเห็นคุณค่า และเร่งเห็นว่าพลังงานถ่านหินที่ใช้กันในปัจจุบันนี้กำลังหมดไป ธุรกิจเผาถ่านส่งขายทั้งในและนอกประเทศของนักลงทุนบางรายเปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำ ที่มองเห็นภายหน้าเรียบนิ่งแต่ลึกๆลงไปแล้วนั้นปริมาณความต้องการของต่างประเทศอย่าง สหประชาชาติ (UN) และ ญี่ปุ่นนั้นมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน/เดือน

เจ้าพ่อธุรกิจพระเครื่องทุ่มเงินไม่ต่ำกว่า 80 ล้าน สร้างสวนไผ่กว่า  100 ไร่ พร้อมขยายปลูกเต็มพื้นที่ 1,200 ไร่ เตรียมสร้างโรงงานเผ่าถ่านในอนาคตอันใกล้  ที่เมืองสองแค


นายฉลวย เจริญสุข อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 95 หมู่ 5 ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ก่อนหน้านี้และปัจจุบันเขาได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการทำกรอบพระเครื่อง และอุปกรณ์ทุกชนิดเกี่ยวกับพระเครื่อง มาเป็นเวลากว่า 32 ปีแล้ว ในสมัยช่วง 10-20  ปีธุรกิจดำเนินไปได้ดีขึ้นมาเรื่อยๆมีคนในวงการรู้จักอย่างกว้างขวาง นั่นเพราะยังไม่มีคู่แข่ง แต่ต่อมาเริ่มมีคนหันมาประกอบอาชีพทางด้านนี้มากขึ้น ส่วนแบ่งทางการตลาดก็ถูกแชร์ไปเป็นเรื่องปกติ สถานการณ์ในวงการจึงไม่หวือหวามากอย่างที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ยังเดินหน้าสานต่อธุรกิจพระเครื่องมาได้จนถึงปัจจุบันนี้เพราะลูกค้าประจำยังให้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมา อาจจะด้วยความเชื้อใจกันในด้านคุณภาพด้วย

“ผมทำอุปกรณ์พระเครื่อง มีเอเยนต์ ทั่วประเทศ ทำมากว่า 32 ปี เมื่อก่อนมีไม่กี่ราย ก็ทำให้กิจการไปได้ด้วยดี ตอนนี้ทำกันเยอะ เหมือนมีเนื้ออยู่ก้อนหนึ่งเมื่อก่อนกินอยู่ไม่กี่คน แต่ตอนนี้กินกันอยู่กว่า 3,000 คน แต่ถึงอย่างไรผมก็ยังมีลูกค้าประจำอยู่ ลูกค้าผมเยอะเพราะค้าขายกันมานาน ตอนนี้ก็ยังไม่เลิกกิจการพระเครื่อง หากแต่ทำงานเกษตรเป็นอาหารใจควบคู่ไปด้วยเพราะผมชอบเกษตร”

ต่อมาคุณฉลวยได้มองหาลู่ทางในการสร้างอาชีพที่ยังยืนและมันคงขึ้น เนื่องด้วยที่อายุก็มากขึ้นด้วย ประกอบกับความชื้นชอบส่วนตัวในงานด้านเกษตรทำให้เขานำเงินสะสมจากธุรกิจพระเครื่องมาซื้อพื้นที่สวนส้มเก่ากว่า 1,200 ไร่ ซึ่งในขณะนั้นราคาที่ไร่ละ 5 หมื่นบาท/ไร่ รวมเป็นเงินกว่า 50 ล้านบาทเฉพาะค่าที่ หลังจากนั้นทุ่มเงินอีก กว่า 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการทำเกษตร

“ที่แปลงนี้ผมซื้อมาได้ 7-8 ปีแล้ว ไร่ละ 5 หมื่นบาท/ไร่ จำนวน 1,200 ไร่ ตอนแรกเป็นพื้นที่สวนส้มเดิมและผมโชคดีที่ว่าพื้นที่ตรงนั้นน้ำไม่ท่วมด้วย  แล้วต่อมาช่วงหลังที่ว่าจะทำเกษตรผมก็เอาเงินสะสมที่ได้จากขายอุปกรณ์พระเครื่องมาทุ่มไปเฉพาะปรับพื้นที่นะครับไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ทั้งสร้างคูคลอง สร้างถนนรอบสวน อะไรพวกนั้น นี้ยังมีส่วนที่ต้องไปซื้อเครื่องจักรอีกอย่างพวกรถไถอะไรพวกนั้น สรุปแล้วผมหมดไปหลายล้านครับ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะผมตั้งใจจะทำอยู่แล้ว”

คุณฉลวยได้แปลงเงินที่ได้จากธุรกิจพระเครื่องมาลงงานด้านเกษตร งบในส่วนดำเนินการพัฒนาพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นการปรับพื้นที่ ขุดบ่อบาดาน ขุดสระ ทำถนนรอบสวนระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร ซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตรด้วย แม็คโค 2 คันแต่ขายไป 1 คันแล้ว ตลอดจนค่าก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ค่าแรงงาน เป็นต้น เขาเผยว่าแม้งบลงทุนจะเป็นยอดเงินที่ค่อนข้างสูงมาก หากแต่เขาทำเกษตรด้วยใจรัก และยังไม่ได้คิดว่าจะทำเชิงธุรกิจอย่างจริงจัง จึงไม่ได้หนักใจด้านเงินทุนเท่าไร

“หลังจากนั้นผมก็มาคิดว่าในพื้นที่กว่า 1,200 ไร่นี้เราจะทำอะไรดี ก็เผอิญว่าได้มารู้จักกับ หลวงตาทวี วีรพโล วัดพยัคฆารา ที่ อ.ศรีประจันทร์ จ.สุพรรณบุรี ท่านแนะนำว่าให้ปลูกไผ่เพราะไผ่สามรถนำไปทำถ่านได้ และตลาดตอนนี้กำลังต้องการอย่างมากด้วย จากการนั่นพูดคุยกันอยู่นาน ผมมองว่ามีทั้งตลาดเฟอร์นิเจอร์ ตลาดพลังงาน และอีกอย่างการปลูก หรือดูแลไม่ยุ่งยากมาก ผมก็ซื้อพันธุ์มาลงปลูกทันที แต่ปลูกไปเพียง 300 ก่อน เพราะไม่มีต้นพันธุ์ ประกอบกับพื้นที่บ้างส่วนผมปลูกมะพร้าวน้ำหอมเข้าไปด้วย” คุณฉลวยอธิบายความเป็นมาด้านทำเกษตรของตน

ด้วยความที่ชื้นชอบด้านเกษตรพื้นที่ทั้งหมดจึงถูเนรมิตให้เป็นสวนเกษตรขนาดใหญ่คาบเกี่ยวพื้น 2 จังหวัดคือ ส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.บ้านหมี่ จ.สระบุรี และอีกส่วนอยู่ในพื้นที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ทั้งนี้นี้ทั้งนั้นแม้ว่าเขาจะชื้นชอบเกษตรเพียงใด หากแต่เขาไม่ปรารถนาที่จะปลูกพืชล้มลุกเลยเพราะให้เหตุว่าพืชล้มลุกเป็นงานที่ต้องทำปีต่อปี และจุกจิกยุ่งยาก ดังนั้นพืชที่ปลูกในพื้นที่จึงเป็นพืชอายุยาว เช่น ไผ่  มะพร้าวน้ำหอม และปาล์มน้ำมันเป็นส่วนน้อย

ปัจจุบันคุณฉลวยปลูกไผ่ไปแล้วกว่า 100 ไร่ และมีเป้าหมายว่าจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆหากมีสายพันธุ์ เพราะก่อนหน้านี้ได้ซื้อพันธุ์ไผ่มาหลากหลายชนิดแต่ยังไม่สามารถปลูกครั้งเดียวเต็มพื้นที่ได้ เพราะยังปรับพื้นที่บางส่วนไม่แล้วเสร็จ นอกจากนี้แล้วคุณฉลวยได้วางโครงการไว้ว่าจะสร้างโรงงานงานเผาถ่านขึ้นมารองรับผลผลิตจากสวนไผ่ตัวเองอีกด้วย

ความมั่นใจในการนำไผ่ไปลงปลูก ก็เนื่องจากยังมีหลวงตาทวี พระนักพัฒนางานด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานจากพืชเกษตร แห่งวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันทร์ จ.สุพรรณบุรี ให้คำแนะนำอยู่ อีกแง่มุมหนึ่งในห้วงความคิดของผู้ชายวัยเก๋าท่านนี้คือจะนำไผ่ที่ได้เข้าไปในงานด้านเฟอร์นิเจอร์ เพราะคุณฉลวยบอกว่าเขามีพรสวรรค์ที่ติดตัวมาด้วย นั้นคือองค์ความรู้งานช่างอยู่มากพอตัว และปลายทางที่วางไว้คือตัดลำขายเข้าสู่วงการไผ่พลังงาน หรือ “การทำถ่านจากไผ่” นั้นเอง 

กระบวนการปลูกไผ่ในรูปแบบเจ้าของธุรกิจพระเครื่องชื่อดัง




เริ่มจากปรับพื้นที่แล้วยกเป็นร่องปลูก สร้างร่องน้ำระหว่างแถวปลูกกว้าง เพื่อระบายน้ำออกในฤดูฝน และเอาน้ำเข้าในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้นแล้วเพื่อให้สะดวกในการให้น้ำ ซึ่งจะใช้เรือยนต์ติดเครื่องสูบน้ำวิ่งในร่องแล้วพ่นน้ำให้ไผ่ที่ปลูกบนร่อง สำหรับวิธีการปลูกเริ่มจากขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกกลบดินลงไปเล็กน้อย แล้วนำไผ่ลงปลูกก่อนจะกลบหลุมปลูกอีกครั้ง ระหว่างต้นจะปลูกห่างกัน 1 เมตร ประมาณ 3 ต้น แล้วจะเว้นระยะห่างไป 4 เมตร แล้วค่อยปลูกอีก 3 ต้น โดยแต่ละต้นจะห่างกัน 1 เมตรเช่นเดิมไปเรื่อยๆเช่นนี้จะสุดแถวปลูกที่ต้องการ หลังจากปลูกไปแล้วจะมีการให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 ในช่วงแรก

ไผ่จะใช้การขยายพันธุ์ด้วยหน่อ  ซึ่งตาจะอยู่ที่ปล้องและเกิดการแตกหน่อจากต้นเดิมงอแล้วช้อนขึ้นมา  หากใช้การเลี้ยงในแบบธรรมชาติไม่ที่ไม่ต้องให้ปุ๋ยเลยจะใช้เวลาประมาณ  4  ปี  ก็แก่เต็มที่และพร้อมตัดได้ แต่ถ้าหากมีการบำรุงรักษาอย่างดี มีการใส่ปุ๋ยรดน้ำ ไผ่จะให้ผลผลิต (ลำไผ่) เฉลี่ยประมาณ  100-200  ต้น/ไร่/ปี

ตลาด
UN และ ญี่ปุ่น เปิดบ้านรับผลิตภัณฑ์ “ถ่าน” จากไทยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000
ตัน


หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาอยู่บ้าง สำหรับตลาดที่จะช่วยระบายผลิภัณฑ์จากถ่าน หากตัดสินใจกระโดนเข้ามาจับธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้ผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลบ้างส่วนกรอปกับสัมภาษณ์พิเศษผู้ดำเนินกิจการดังกล่าวมาอยู่ก่อนหน้านี้แล้วเป็นผู้ให้ข้อมูลยืนยัน

อาจารย์พิสิษฐ์ พรมเดช ประธาน  กลุ่มอาชีพบ้านหนองไม้แดง ให้ข้อมูลการผลิตถ่านอัดแท่งกับผู้เขียนในวันเดียวกัน ว่าตนเองได้สนใจในความรู้ใหม่ฯ ที่ต้องนำวัตถุดิบเหลือใช้ในชุมชนเพื่อเป็นสร้างงานให้กับเพื่อนบ้านที่อยู่ในชุมชน สร้างรายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัวนอกจากจะทำอาชีพหลักอย่างเดียวเช่นทำนา ทำไร่ และรับจ้างทั่วไป จากการศึกษาพบว่าถ่านอัดแท่งมีประโยชน์ใช้ในการปิ้ง ย่าง  ดูดกลิ่นในรถยนต์  ตู้เย็น ยังมีคุณสมบัติ ไร้กลิ่น ไร้ควัน 

ต่อมาเมื่อสมาชิกมากพอสมควรแล้วจัดตั้งเป็นกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน”     ก่อนต่อมาก็เป็น  “ กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มเกษตร ”  แต่พอดูแล้วมันมี หลายกลุ่มมากเกินไปจึงประชุมกัน  และได้ตกลงกันว่าควรตั้งชื่อใหม่ เป็น กลุ่มอาชีพบ้านหนองไม้แดงสินค้าต่างๆที่กลุ่มอาชีพช่วยกัน สร้างขึ้นยังได้รับหนังสือรับรองจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา, กรมการ ค้ากระทรวงพาณิชย์,กรมวิทยาศาสตร์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนัก งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย, กรมพัฒนา ชุมชนและใบประกาศนียบัตรจาก มูลนิธิโครงการตามพระราช ดำริสวนป่าสมุนไพร สมาคมสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ แห่ง ประเทศไทย  อันเนื่องมาจากทฤษฎีเศรษฐกิจ พอเพียงตามพระราชดำริ โดยการเรียนรู้ด้วยตัวเองและลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงจังจนสำเร็จ จึงได้มีโลโก้เป็นของตนเอง BOG กลุ่มอาชีพบ้านหนองไม้แดง

อ.พสิษฐ์ เล่าว่าตนได้มีโอกาสเข้าไปอบรมวิชาชีพ ณ สวนจิตรลดาเป็นเวลา 4 ปีและในปี พ.ศ. 2547 ก็เริ่มนำความรู้ความสามารถที่ได้มาใช้และเผยแพร่สู่สมาชิกในครอบครัว และ ผู้ที่สนใจทางด้านเกษตรกรรม จึงได้คิดค้นสูตรปุ๋ยต่างๆที่บำรุงดินจนได้ชื่อว่า หมอดิน และได้ทดลองทำน้ำยาล้างจาน, น้ำยาล้างรถ, น้ำยาปรับผ้านุ่ม, ทำถ่านอัดแท่งและทำน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ดสบู่ดำ หลังจากนั้นก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ภายหลังใดคิดค้นเครื่องผลิตถ่านอัดแท่ง เช่น เครื่องอัดถ่านแท่ง เครื่องเผาวัตถุดิบทำถ่าน เครื่องตีป่นถ่าน และถังผสมถ่านตามอัตราส่วน เป็นต้น

ประธานกลุ่มอาชีพฯ เล่าต่อว่า ในการทำถ่านอัดแท่งนี้ จะทำมาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น กะลามะพร้าว, ซังข้าวโพด, รากไม้ หรือ รากมันสำปะหลัง โดยขั้นตอนในการทำถ่านอัดแท่ง จะเริ่มจาก การนำวัสดุเหลือใช้ต่างๆมาเผาในเตาเผาที่สร้างขึ้นเอง ใช้ความร้อน 8,000 องศาเซลเซียส ในขั้นตอนการเผานี้จะสกัดสารก่อมะเร็งออกมาในรูปของเหลว (ทาร์) จากนั้น ทำให้ถ่านเย็นและแห้ง แล้วนำมาบดด้วยเครื่องบดถ่านจนกลาย เป็นผง จากนั้นนำส่วนไปผสมอื่นๆ เช่น แป้งมัน และ น้ำ ในเครื่องผสม ผสมจนได้ที่ แล้วนำเข้า เครื่องอัดถ่านให้เป็นแท่ง จะได้ถ่านที่เป็นแท่ง ๆ ออกมา ยาวประมาณ 6 ½ นิ้ว หรือตามขนาดที่ลูกค้าต้องการจากนั้น นำถ่านที่อัดออกมาวางเรียงกันในที่วางถ่านแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิทอย่างน้อยให้ได้ 3-4 แดด จนถ่านไม่มีความชื้น เมื่อได้ที่แล้วก็นำถ่านมาบรรจุภัณฑ์ในถุงที่เตรียมและติดโลโก้ “BOG” แล้วนำส่ง

ก่อนที่ผมจะทำการผลิตถ่านอัดแท่งได้เท่าทุกวันนี้ ผมได้ไปเข้ารับการฝึกอบรมที่กรุงเทพฯ แล้วนำมาทดลองทำแต่ได้ผลดีสามารถจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 10 บาท จึงได้นำเสนอแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ เพื่อให้ที่ประชุมสมาชิกกลุ่มอาชีพบ้านหนองไม้แดง ได้พิจารณาและมีมติให้ดำเนินการ จึงเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจาก ธกส.ได้งบประมาณมาจำนวน 200,000 บาทเศษ ต่อมาผมก็ได้คิดค้นเครื่องต่างๆที่เป็นเทคโนโลยีในการทำถ่านอัดแท่งอย่างที่เห็นทุกวันนี้”

นอกจากนั้นอาจารย์พิสิษฐ์ ยังเผยถึงตลาดที่รองรับผลิตภัณฑ์ถ่านจากไม้ไผ่ด้วย ปัจจุบันหลายประเทศให้ความสนใจถ่านมากขึ้นโดยเฉพาะ ประเทศญี่ปุ่น ที่มียอดสั่งซื้อถ่านไม้ไผ่ จากไทยไม่ต่ำกว่า 500-1,000 ตัน/เดือน และ องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ที่มีออร์เดอร์สั่งนำเข้าถ่านจากไทยที่ทำจากไม้เบญจพรรณทั่วไปไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน/เดือนเช่นกัน หากแต่ในปัจจุบันกำลังการผลิตภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตและส่งมอบให้ได้ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตอีกด้วย


“ตลาดรองรับผลผลิตถ่านจากไทยมีมากครับ แต่เราผลิตให้เขาไม่ทัน อย่างตอนนี้ผมยอมเสียค่าปรับให้กับทางญี่ปุ่นไปกว่า 2 แสนบาทเพราะเราไม่สามารถส่งมอบถ่านให้เขาได้ตามจำนวนที่ตกลงไว้ แต่ผมต้องการรักษาฐานตลาดไว้เพื่ออนาคตข้างหน้า จึงยอมให้เขาปรับไปก่อน ตอนนี้ผมมีศูนย์ส่งเสริมอาชีพอยู่ 4 ศูนย์และจัดสรรให้แต่ละศูนย์รับออร์เดอร์ไปศูนย์ละ 29 ตัน/เดือน จะเห็นได้ว่าตลาดใหญ่ๆเหล่านี้ยังคงมีความต้องการถ่านจากเราอยู่ตลอดและมีแต่จะเพิ่มความต้องการขึ้น หากแต่กำลังการผลิตเราไม่พอ และวัตถุดินก็ไม่พอ เพราะฉะนั้นผมถึงสนใจว่าจะมีใครสร้างสวนไผ่เพื่อพลังงาน หรือ เพื่อนำวัตถุดิบไผ่นั้นมาทำถ่านบ้าง เพราะถ่านที่ได้จากไม้ไผ่นั้นราคาดีกว่า ถ่านที่ได้จากไม้เบญจพรรณทั่วๆไป นอกจากตลาดที่นำถ่านไปใช้ในแง่ของพลังงานหุงต้มแล้ว ยังมีตลาดสุขภาพอีกด้วยที่รองรับและราคาดีมากด้วย”
               
                  จะเห็นได้ว่าความต้องการที่มีมากนั้น ยังไม่ได้มีการตอบสนองด้านผลผลิตเข้าไปเลย ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสดีที่พ่อค้ากรอบพระเครื่องอย่างคุณฉลวย ได้ลงมาเล่นบนเวทีนี้ด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้พื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ของเขาคงจะมีไผ่เข้ามาสู่กระบวนการเผาและมีออร์เดอร์ส่งขายให้ตลาดดังกล่าวแน่นอน การเดินหน้าไปพร้อมกันสำหรับผู้ผลิตวัตถุดิน และผู้รักษาฐานลูกค้าอย่างอาจารย์ประสิทธิ เชื่อว่าจะสร้างมูลค้าเม็ดเงินที่ได้จากการค้าขาย “ทองคำดำ” เข้าสู่ประเทศมหาศาล

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
หลวงตาทวี วีรพโล วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจัน จ.สุพรรณบุรี
คุณฉลวย เจริญสุข  เจ้าของสวนไผ่ โทร.08-9772-7825
คุณรัตน์ (ลูกชายคุณฉลวย ผู้จัดการบริหารสวนไผ่) โทร.08-6809-0252

อาจารย์พิสิษฐ์ พรมเดช ประธาน  กลุ่มอาชีพบ้านหนองไม้แดง โทร.08-99571042,08-7108-6046

ข้อมมูลจากนิตยสารพืชพลังงาน ฉบับที่ 56