แม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่ได้ผลักดัน
ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานปลูกพืชพลังงานทดแทน “ปาล์มน้ำมัน”
อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนกับโครงการ “ยางพารา” ล้านไร่ก็ตาม
แต่จากสถานการณ์ของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนไม่น้อยหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากยิ่งขึ้นกว่าแสนไร่
แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีสภาพแห้งแล้ง ไม่มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกก็ตาม
การปลูก ปาล์มน้ำมัน ในภาคอีสานมีนักวิชาการหลากคนได้ “วิพากษ์”
กันไว้ว่า “ไม่มีทางเป็นไปได้” เพียงเพราะเหตุผลเดียวคือ ภาคอีสานมีปริมาณ “น้ำ
และ ความชื้น” ไม่เพียงพอ
ภาคอีสานถูก “ปรามาส” ว่าเป็นดินแดนแห้งแล้ง
มีปริมาณน้ำฝนน้อย
หากแต่สิ่งที่ซ้อนเลนอยู่ในดินแดนแห่งนี้กลับทำให้หลายพื้นที่ภาคอีสานปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างสบาย
นั่นหมายถึงพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งเขื่อน และแม่น้ำนั่นเอง
เมื่อวันที่
22 มีนาคม 2556 ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พูดคุยของความรู้จาก
คุณโชติ ธนศรีทรัพย์ (วทบ.NAU) นักวิชาการควบคุมแปลงเพาะ และ แปลงปลูกปาล์มน้ำมันหลายๆแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน
และ เหนือตอนล่าง
ล่าสุดเขาได้สร้างผลงานให้เป็นกรณีศึกษาแก่หลายๆคนที่ยังมองว่าปาล์มน้ำมันปลูกในภาคอีสานไม่ได้
ในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ที่ ต.วังยาง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ถูกเนรมิตให้เป็นสวนปาล์มขนาดใหญ่
และปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
อีสาน พื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของประเทศไทย
ในอดีตที่ผ่านมามีแต่ความแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันถนนแทบทุกสายมุ่งไปที่ อีสาน ทั้งการเน้นปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสินค้าเกษตรอื่นๆ อีกมากมาย
ปาล์มน้ำมันในอดีตพืชชนิดนี้จะให้ผลผลิตดีที่สุดจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ เพราะมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถปลูก ปาล์มน้ำมัน ได้ผลดีเกือบทุกพื้นที่โดยเฉพาะที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ๆ แหล่งน้ำ
ปาล์มน้ำมัน กับ อีสาน จะเหมาะสมกันหรือไม่ ?
ปัญหาที่ถูกหยิบยกมาอ้างว่าไม่สามารถปลูกเชิงการค้าในภาคอีสานได้
คือ ปัญหาเรื่องน้ำสภาพความแห้งแล้งยังเป็นปัญหาหลัก ต่อมาคือ ปัญหาเรื่องโรงงานที่รับซื้อผลผลิต
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่แถวๆ ภาคใต้ และภาคตะวันออก ไม่เพียงเท่านั้นยังมีปัญหาอีกส่วนหนึ่ง
ที่น่าเป็นห่วงคือ เกษตรกรในพื้นที่มักปลูกตาม
ๆกันโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะการปลูก การดูแล การการตลาด
และข้อมูลอื่น ๆ ทำให้เกษตรกรในอีสานขาดโอกาสที่จะได้กำไรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
ต่อมาวันที่
18 เมษายน 2556
ผู้เขียนได้เดินทางมุ่งหน้าไปยัง อ.ภูเรือ จ.เลย เพื่อพิสูจน์ให้เห็นกับตาว่าเขาปลูกปาล์มน้ำมัน
และให้ผลผลิตจริงหรือไม่ และสิ่งที่ได้พบคือปาล์มน้ำมันที่ปลูกไว้บนภูเขาสามารถให้ผลผลิตทั้งๆที่ไม่ได้รับการดูแลจัดการที่ดีเลย
ตลอดทั้งวันคุณโชติได้พาลาดตระเวนดูแปลงปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่
ไม่น่าเชื่อว่าในพื้นที่เช่นนี้ปาล์มน้ำมันจะสามารถเจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้
ช่วงเย็นของวันนั้นผู้เขียนจึงได้นั่งซักถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องราวต่างๆในการปลูกปาล์มบนที่ราบสูงเช่นนี้
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันบนที่ราบสูง
คุณโชติได้ดำเนิน
การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันบนที่ราบสูง ซึ่งเกษตรกรบนที่ราบสูงของ จ.เลย
มีการปลูกพืชหรือทำไร่เลื่อนลอย บุกล้างถางป่า ทำให้พื้นที่ป่าหายไปเรื่อยๆ ทุกวันโดยมามีการปลูกเพิ่ม
เกษตรกรบางราย ก็ปลูกยางพาราบนพื้นที่ความสูงตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปบางรายก็ไม่ได้ผล บางรายก็ได้ผล
ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะมีเกษตรกรบางรายนำสายพันธุ์ไม่ดีขึ้นมาปลูก เช่น
พวกยางตาสอย
การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันบนพื้นที่ราบสูงปัจจุบันดำเนินมาได้
2 ปีกว่าแล้ว
สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ประกอบไปด้วย พันธุ์ CHEMARA RUBI DxP,
TENERA DxP และ YANGAMBI PREMIUM ST. ซึ่งตอนนี้ได้ให้ผลผลิตแล้ว
ข้อแตกต่างของทั้ง
3 สายพันธุ์นี้เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นแล้วพบว่าสามารถมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศที่แห้งแล้ง
ยกตัวอย่างแปลงที่ไปดูมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตรประกอบกับไม่มีการดูแลจัดการที่ดี
การให้น้ำก็ไม่มี แต่ปรากฏว่าเมื่ออายุได้ 2
ปีกว่าก็เริ่มออกทะลายให้เห็นนั้นแสดงว่าในพื้นที่ความสูงระดับน้ำทะเล 500-900
เมตรสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้
“สายพันธุ์ดังกล่าว
ทางใต้ก็มีคนนำมาปลูกแล้วให้ผลผลิตแล้ว ไม่ใช้จะเป็นพันธุ์ใหม่อะไร
หากแต่ไม่มีใครจะกล่าวถึงมากเท่านั้นเอง สำหรับทางภาคอีสานก็มีคนนำมาปลูกแล้ว
อายุเฉลี่ย 5-8 ปีให้ผลผลิตแล้วทะลายดก
ใหญ่ ลำต้นสมบูรณ์ แหล่งที่มาของสายพันธุ์คือประเทศมาเลเซีย
เข้าใจอยู่ว่าเขามีกฎหมายห้ามนำออกเมล็ดพันธุ์ปาล์มจากประเทศมาเลเซีย
แต่ผู้ผลิตเขาผลิตแล้วเขาก็ต้องอยากขาย บ้านเราก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามนำเข้า
ส่วนกระบวนการนำเขาทำอย่างไรนั้นเราก็แล้วแต่เขา
ผมเองก็เคยเข้าไปดูงานที่มาเลเซียอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งในฐานะนักวิชาการ
สายพันธุ์ที่บอกไปข้างต้นมีความสารถในการเจริญเติบโตที่ดีในสภาพแห้งแล้ง
ให้ผลผลิตดี ผมมองแม้ว่าทางภาคอีสานจะเสียเปรียบในเรื่องของปริมาณน้ำฝน แต่เราสามารถสร้างได้ด้วยการสร้างแหล่งน้ำ
การรักษาความชื้น เป็นต้น สำหรับเรื่องของปริมาณแสงแดง
ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน
ภาคอีสานจะค่อนข้างได้เปรียบอย่างมาก เพราะฉะนั้นหากเรามีการจัดการเรื่องน้ำได้
ผลผลิตที่จะได้เราไม่แพ้ทางภาคใต้แน่
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ผลผลิตที่เกษตรกรได้ก็ถือว่าเป็นที่น่าพึงพอใจอยู่เช่นกัน”
ปล่อยระบบสินเชื่อเพื่อให้เกษตรกรที่มีทุนน้อยได้มีโอกาสประกอบอาชีพ
สร้างรายได้
จากที่คุณโชติได้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่มาเป็นระยะเวลานานทำให้ทราบเรื่องราวต่างๆในการประกอบอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่
ทั้งนี้เขาบอกว่าเกษตรกรมีความตื่นตัวอย่างมากในการปลูกปาล์มน้ำมัน
บางรายก็ปลูกทั้งๆที่ไม่มีความรู้อะไรเลย นั่นถือว่าเป็นการเสี่ยงอย่างมาก ต่อมาจึงได้ปรึกษาหารือกับทีมงานฝ่ายต่างๆว่าจะต้องดำเนินการอะไรสักอย่างเพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ที่ถูกต้องก่อนลงมือปลูก
อีกทั้งสามารถปลูกได้ทุกคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่แม้ตุนทุนมีน้อย
“ปีนี้เราได้ขยายพันธุ์ภายใต้โครงการไปประมาณ 1 แสนต้น เพราะฉะนั้นในปริมาณ 1
แสนต้นนี้เกษตรกรยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องของต้นทุน บางคนไม่มีทุน
ไม่มีกำลังในการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่มีความต้องการที่จะปลูก ทาง บจก.กรีนเอิกธ์ฯ
และ ภูเรือปาล์มน้ำมัน
ได้มีมีการประชุมหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรในพื้นที่สมารถปลูกปาล์มน้ำมันกันได้
ไม่นานก็ได้มีโครงการ “สินเชื่อ” ขึ้นมา
หลักการคือให้เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกปาล์มน้ำมันเข้าร่วมโครงการและประสานงานแบ่งชำระเป็น
3 งวด”
อย่างไรก็ตามก่อนที่เกษตรกรจะได้ลงมือปลูกปาล์มน้ำมัน
ทางศูนย์จะมีการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกร อีกทั้งลงตรวจสอบพื้นที่ให้ก่อนเพื่อเช็คสภาพแปลงว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ถ้าพบว่าเป็นพื้นที่ ที่ไม่เหมาะสมเช่น มีความลาดชันเกินไป
ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา ไม่สะดวกอย่างมากในการจัดการต่างๆ
เป็นพื้นที่อยู่ในจุดที่กระแสนลมพัดผ่านรุนแรงอยู่ตลอด บางพื้นที่สภาพดินแย่
หรือฉ่ำน้ำอยู่ตลอดเวลา เราก็จะไม่สนับสนุนให้ปลูก
จากที่ยกตัวอย่างมานั้นหากนำปาล์มไปปลูกอาจจะได้รับความเสียหายมากกว่าที่จะได้รับผลผลิต
และรายได้
ฉะนั้นหาก
แปลงที่เกษตรกรจะไปปลูกนั่นไม่แน่ใจว่าจะสามารถปลูกได้หรือไม่ ก็ให้ทำการแจ้งมาที่ศูนย์
จากนั้นทางศูนย์จะจัดทีมงานไปดูพื้นที่ให้ พร้อมทั้งตรวจวิเคราะห์ดินว่ามีธาตุอาหารในดินเท่าไร
หากเมื่อแปลงมีความเหมาะสมแล้วก็จะทำการอบรมเกษตรกรตั้งแต่การเตรียมแปลง
การวัดแนวปลูก ขุดหลุมปลูก การปลูก การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
มีการลงพื้นที่ศึกษาจริงในบางส่วนที่สามารถทำได้ เช่นการดูการวางแนวปลูก เป็นต้น
หลังจากนั้นเราจึงจะปล่อยให้ไปจัดการแปลงของตนเอง
“เกษตรกรมีความตื่นตัวเป็นอย่างมากในเรื่องของการปลูกปาล์มน้ำมันบนที่ราบสูง
แต่บางรายก็ต้องผิดหวังเพราะสภาพพื้นที่ของตนเองไม่เหมาะสม
เขาอยากทำแต่ก็ไม่สามารถทำได้ เราก็ไม่อยากให้เขาเสี่ยง ในพื้นที่
อ.ภูเรือมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1600/ปี ถ้ามองว่ามันน้อยก็น้อยนะสำหรับในการปลูกปาล์มน้ำมัน
เพราะฉะนั้นเราจะแนะนำ อบรบให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการรักษาความชื้นในดินด้วยการปลูกวัชพืชคลุมดิน”
งวดที่
1 หรือ
ในปีแรกให้เกษตรกรที่มีความประสงค์ที่จะปลูกปาล์มน้ำมันเข้ามาลงชื่อจองต้นกล้าปาล์มพร้อมจ่ายเงินมันจำจำนวน
10 บาท/ต้น (ปลูกไร่ละ 28 ต้น
เฉลี่ยต้นทุน/ไร่เรื่องต้นกล้าปาล์มอยู่ที่ 280 บาท) หลังจากมีการจองเรียบร้อยแล้วให้เกษตรกกลับไปเตรียมแปลงปลูกของตนเองเพื่อให้พร้อมสำหรับปลูก
งวดที่
2 วันมารับต้นกล้าปาล์มน้ำมันให้เกษตรกรนำเงินมาชำระอีก
50 บาท/ต้น
เสร็จแล้วเกษตรกรก็นำต้นกล้าที่สั่งจองไว้ไปปลูกในพื้นที่ของตนได้เลย
งวดที่
3
เป็นการชำระครั้งสุดท้ายซึ่งในงวดนี้เราจะให้เกษตรกรมาชำระก็ต่อเมื่อสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้แล้วโดยจะชำระเป็นเงิน
หรือ เป็นผลผลิตผลิตก็ได้ ซึ่งจะประเมินราคาของผลผลิตตามจริง
“ทุกปีที่ผ่านมากเราจำหน่ายต้นกล้าเป็นเงินสด
ความเดือนร้อนของเกษตรกรก็เกิดขึ้น เพราะบางรายอยากปลูกแต่เงินทุนไม่ค่อยมี
เราจึงเริ่มโครงการสินเชื่อเป็นปีแรกเมื่อปี 2554/55 มียอดสั่งจองต้นกล้าแบบสินเชื่อประมาณ 7 หมื่นต้น และ สั่งจองแบบเงินสดอีก 3 หมื่นต้น
ซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลย
จะเห็นได้ว่าอาจจะยังไม่มากเพราะทางศูนย์ยังไม่มีการทำประชาสัมพันธ์
เนื่องจากต้องการดูแลติดตามผลงานของสมาชิกให้ทั่วถึงเสียก่อน”
“เกษตรกรเขาทราบดีว่าการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สูงเช่นนี้มีความเสี่ยง
เพราะภูมิประเทศต่างจากภาคใต้อย่างมาก อีกทั้งกระแสจากนักวิชาการบางส่วนได้บอกไว้ว่าไม่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้
จึงไม่มีการสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ปลูก
แต่หลังจากเกษตรกรบางรายปลูกไปแล้วกลับมีผลผลิต ลำต้นอุดมสมบูรณ์ทะลายใหญ่
จึงสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรรายอื่นๆได้อย่างมาก”
นอกจากนี้ทางศูนย์ร่วมกับ
บริษัท กรีน เอิกธ์ ดีเวลล้อปเม้น จำกัด ยังมีปุ๋ยคุณภาพ ราคาถูก มาบริการเกษตรกรที่เป็นสมาชิกอีกด้วยเพื่อให้เกษตรกรมั่นใจว่าปุ๋ยที่ได้จากเราไปเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมช่วยให้สะรีระของต้นดี
มีธาตุอาหารที่ต้องการของปาล์มน้ำมันอย่างครบถ้วน
สำหรับในกรณีที่ปลูกแล้วไม่มีผลผลิตคุณโชติให้เหตุผลว่ามันอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเช่น
สายพันธุ์ ปลูกในพื้นที่ดินไม่เหมาะสม หรือปลูกไม่ถูกวิธี ประการสุดท้าย
การจัดการไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช เป็นต้น
“เราเริ่มกระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ในปี
2555/56 จะมีอยู่หลายอำเภอที่นำสายพันธุ์เราไปปลูกเช่น
อ.นาด้วง อ.เอราวรรณ อ.ผาขาว อ.วังสะพุง อ.ภูกระดึง หนองหิน และ อ.เมือง
ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่ทำให้เกษตรกรบนที่ราบสูงได้มีรายได้จากปาล์มน้ำมัน
อย่างที่บอกในตอนต้น ที่เกษตรกรในพื้นที่ราบสูงนอกจากยางพารามาปลูกแล้ว
ยังมีการปลูกข้าว ข้าวโพด ขิง มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ค่อยยั่งยืน
แต่เมื่อเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชอาหาร และพืชพลังงาน
สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ไม่ต้องเริ่มลงทุนทำเกษตรใหม่ทุกๆปี
นอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องของการสร้างป่า สร้างสิ่งแวดล้อมด้วย
พื้นที่จากที่เป็นภูเขาหัวโลนก็จะกลับมามีความชุ่มชื่น
เตรียมจัดตั้งสมาคมฯ
เพื่อระดมทุนสร้างโรงหีบรองรับผลผลิตของสมาชิกในอนาคต
สิ่งทีคุณโชติดำเนินการมาล้วนแต่เป็นการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่เองมานานหลายปี
ทั้งเรื่องของสภาพอากาศ สภาพพื้นดิน เขาจึงกล้าพูดได้ว่าในพื้นที่ราบสูง
และภาคอีสานสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่า “บนภูเขาสูงจริงอยู่ที่ค่อนข้างจะหาแหล่งน้ำได้ยาก
หากแต่น้ำซับใต้ดินมีเพียงพอให้ปาล์มน้ำมันได้ใช้หล่อเลี้ยงต้นได้ตลอดทั้งปี
ซึ่งเห็นได้จากแปลงที่ไปดู”
ท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามเข้าไปได้ที่
คุณโชติ ธนศรีทรัพย์ (วทบ.NAU) นักวิชาการควบคุมแปลงเพาะ โทร.08-1662-0972